“เลิกทาสไอที สงครามครั้งสุดท้าย”

บริการ SaaS สมองออนไลน์

“เลิกทาสไอที สงครามครั้งสุดท้าย”

หลาย ๆ บทความที่ผ่านมา  ที่เราพาท่านเริ่มต้นและจบลงเหมือนจะกลั้นหายใจแล้วกระโดดหน้าผาดิ่งพสุธาอะไรประมาณนั้น  แต่แล้วก็ต้องตื่นจากฝันขยี้ตาเบา ๆ  เอ๊ะนี่ฝันไป  และดูๆ เหมือนจะไปไม่ถึงสวรรค์ซักกะที

มีผู้ติดตามอ่านบางท่านติชมเราแรงส์ๆ  ว่า  ทำไมมันเยิ่นเย้อ  ไม่ไคลแม็กซ์  ซะที  ฝันลมๆ แล้ง ๆ ตลอด จะลงทุนด้วยก็ไม่กล้า

ใช่ครับ  เราไม่รีบร้อนเรื่องเงิน  และเพราะความจริงที่พวกเราได้ค่อย ๆ ถ่ายทอดออกมานั้น  เพราะมันไม่ใช่ฝันที่เราจะเดินทางไปสู่ฝั่งได้ในพริบตา

เพราะ  ในชีวิตจริง  ธุรกิจจริง ๆ  ไม่มีความสำเร็จใด ๆ ที่จะได้มาโดยบังเอิญเลย  ล้วนต้องเจ็บปวด  ต้องอาศัยปัจจัย  ความพยาบามและความพร้อมต่าง ๆ มากมาย

แม้นสถาปนิกเก่ง ๆ ยังต้องใช้เวลา  ต้องการบรรยากาศในการบิวท์อารมณ์ ก่อนจะสร้างผลงานดีๆ ออกมา  และยังต้องใช้เวลาอีกพอควรแม้นว่าจะตกผลึกความคิดไอเดียปิ๊ง ๆ เพื่อประดิษฐ์งานชิ้นเอกได้แล้ว

“5G”  คือ  จุดเริ่มต้นของยุคดิจิทัลใหม่อย่างสมบูรณ์ที่สุด  กล่าวคือ  ความเร็วและประสิทธิภาพ  จะช่วยให้งานใหญ่ๆ ยาก ๆ  บรรจุและติดตั้งปฏิบัติการได้สำเร็จในเครื่องอิเลกทรอนิกส์เล็ก ๆ  และจะเป็นสิ่งเสริมให้งานแอพพลิเคชั่นในระดับแพลตฟอร์มเกิดขึ้นได้อย่างมีความเชื่อมั่น  เติบโตรวดเร็วและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน

งานของสมองไทยแลนด์  ได้ก้าวเดินมายาวนาน  มีร่องรอย  มีการออกแบบ  สร้างสิ่งแวดล้อม  ปัจจัยที่จำเป็นไว้ก่อนอย่างพร้อมสรรพ  ผมยกตัวอย่างเช่นว่า ในการสร้างแพลตฟอร์ม 1 ระบบ จำเป็นจะต้องมีพื้นที่สำหรับเฟสการเดินเรื่องต่าง ๆ กัน เช่น

  • การเตรียมพื้นที่ออนไลน์เวบไซต์ทำงานสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่จะเป็นคู่มือการผลิต (ที่จะต้องรองรับนักพัฒนาจำนวนมาก  มาทำงานต่อเนื่องการรุ่นต่อรุ่น เป็นเวอร์ชั่น  ที่ยากที่ใครจะจดจำไว้ในสมอง  และนี่คือมาตรฐานการทำงาน)
  • เราเตรียมเวบไซต์คู่มือออนไลน์สำหรับผู้ใช้งานเหมือนแพลตฟอร์มระดับโลกทั้งสอง  และจะเป็นทางเข้าสำหรับเวบแอพพลิเคชั่น
  • และเราเตรียมเวบไซต์ออนไลน์สำหรับผู้ดูแลแพลตฟอร์ม  ซึ่งหมายถึง  ลูกค้า องค์กร  ที่จะมาบริหารธุรกิจบนแพลตฟอร์มที่ร้องขอให้พัฒนาต่อยอดในอนาคต

ในด้านเทคนิคการพัฒนาแพลตฟอร์ม  เรามุ่งเน้นไปที่การออกแบบโครงสร้างและโมเดลทางธุรกิจมากกว่าการลงมือพัฒนาโค้ด  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเรามีโซลูชั่นเรื่องโค้ดอย่างชัดเจน  และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นการจะสร้างความมั่นใจและเตรียมความพร้อมให้กับลูกค้าระดับเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform Operator) ที่จะต้องบริหารธุรกิจเชิงปฏิบัติการหรือ Operation Management   ได้อย่างเป็นเนื้อเดียวกันกับซอฟต์แวร์  และประสพความสำเร็จอย่างแท้จริง

การออกแบบแพลตฟอร์ม  จึงต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการออกแบบสถาปัตยกรรมโครงสร้างฐานข้อมูลหลายระดับ  ทั้งความลึก  ความกว้าง  ที่มีความเป็น Microservices และรองรับ  Blockchain  พร้อมการเข้าออกประตูระบบด้วย API  อีกชั้นหนึ่ง

เหล่านี้คือ  สิ่งที่ผู้ให้บริการพัฒนาระบบทั่วไปไม่ได้คิดไปถึง   เพราะระบบเหล่านั้นเป็นเพียงระบบขนาดเล็ก  ไม่มีบูรณาการกับระบบอื่น ๆ  หรือจะเรียกว่าระบบไม่มีการเจริญเติบโต หรือจะเรียกว่า  “ไม้ล้มลุก”  ก็ได้

หลาย ๆ StartUp ที่ไปต่อไม่ได้  เพราะไม่มี Dev หรือหมดตัวกับการเริ่มต้น Dev-Ops  หรือ  Scale ไม่ได้  หรือหาคนร่วมลงทุนจริง ๆ ไม่ได้  เพราะโมเดลธุรกิจมันไม่ใช่ตั้งแต่ต้น

หลาย ๆ StartUp ที่ฟังดูดี  แต่เหมือนจะมีการระดมทุนอยู่บ่อย ๆ  ประมาณว่าทำเพื่อขาย  หรือไม่ก็มีผลประกอบการที่ไม่สวยงาม  ผมว่าคนจะลงทุนซื้อเขาก็ไม่โง่นะ   จึงเข้าทำนองว่าทำได้แค่แหกตาชาวบ้าน  ปลุกกระแส StartUp ให้แตกตื่น  จบลงตรงที่  ใครมาทางไหนก็กลับไปทางนั้นแถมหมดตูดอีกตะหาก

ดูเหมือนจะมืดมน  หมดหนทางจริง ๆ  ที่จะให้  Tech StartUp ของไทยเดินไปได้

Tech StartUp ของไทยจึงยังต้องเป็นลูกมือ  เป็น “ทาสไอที”  “ทาสเครื่องมือ”  “ทาส  ดิจิทัล”  ไปอีกยาวนาน

บทความนี้ผมเขียนขึ้นเนื่องในโอกาส  วันสำคัญ  วันปิยะมหาราช   พระมหากษัตริย์  ผู้ทรงบุกเบิกและพัฒนาระบบสื่อสาร  คมนาคม  เทคโนโลยีต่าง ๆ ของไทย  และทรงเป็นผู้ประกาศปลดเปลื้อง ระบบทาสไว้ในสมัยของพระองค์

วันนี้  “เราจะเลิกเป็นทาสไอทีกันอย่างไร”   หรืออย่างน้อย  เราจะแข่งขันกับชาวโลกได้อย่างไร

ทาสไอทีฟังดูเป็น “วาทะกรรมดิจิทัล”  อีกแล้ว   ผมคิดออกเมื่อวันวานนี้นี่เอง  แต่จะแก้ออกอย่างไรนี่ซิท้าทายกว่า

แต่ผมกล้าพูดว่า  อย่างน้อยเราจะทำให้คนไทย และชาวโลกได้เห็นว่า  เรามี  “สติตื่นรู้   สติดิจิทัล”  แล้ว  และสร้างบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญมาก ๆ  ผมมีภาพสวยๆ จาก Internet  มาแชร์  เขาว่าด้วยรูปแบบของ  Blockchain  ที่นำมาใช้กับการ  Tracking สินทรัพย์  ในแวดวง  Fintech

และอีกภาพคือ  สถาปัตยกรรม  การออกแบบโครงสร้างงาน  และฐานข้อมูลทั้งทางกว้างและทางลึก  และความเหมือนที่เข้ากันได้ (Applicability)  กับเรื่อง  Blockchain

ลองพิจารณาดูนะครับว่า  ในทุก ๆ ระบบงาน  มีสิ่งที่เหมือนกันอย่างไร  และมีสิ่งที่ต่างกันอย่างไร

หรืออาจจะลองคิดดูว่า  ร้านค้าธุรกิจต่าง ๆ ที่แตกต่างกันที่หน้าร้าน  แต่ระบบจัดการภายในเหมือนกันอย่างไร

นี่แหละครับตัวอย่างสถาปัตยกรรมแพลตฟอร์ม   ที่พร้อมจะ “แปลงกายสยายปีก”  โดยมีคุณสมบัติพันธุกรรมเดียวกัน  พร้อมเติบโตและแข็งแรงปลอดภัย

…..  ดูเหมือนบทความนี้จะจบลงแค่การขายฝันอีกครั้ง

ปล่าวเลยครับ  นี่เป็นการแง้ม  การปล่อยข่าว  การประกาศตัวสงครามไอทีครั้งสุดท้ายต่างหาก  ที่จะต้องไม่ผิดพลาด  แต่จะเดินหน้าสำเร็จเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้คนจริง ๆ พร้อมๆ ไปกับการสร้างงานนับแสนนับล้านตำแหน่ง  และอาจจะเป็นการประกาศเลิกทาสไอทีกันเลยทีเดียว  เหลือจากนั้นก็เป็นความสมัครใจของผู้คนเอง  ว่าจะเป็นอยู่อย่างนี้สืบไป  หรือจะปลดเปลื้องพันธนาการ  แล้วเดินหน้าด้วยจินตนาการที่เสริมพลังด้วย  Samong Platform  & iSTEE Framework

นับถอยหลังหลักเดือนเท่านั้น  กับ ปรากฏการณ์   “เลิกทาสไอที  สงครามครั้งสุดท้าย”

โอกาสการร่วมเดินทางมีได้หลากหลาย  ทั้งการเป็นนักพัฒนาร่วมฯ   นักลงทุน  ผู้ถือหุ้น  และเจ้าของแพลตฟอร์มที่ออกแบบเติมสีตีเส้นตามใจของท่าน  

กดไลก์  กดเพจ  กดแชร์  รอๆ กันได้เลยครับ

เจอกันในบทความหน้านะครับ  ขอบคุณครับ

13896total visits,4visits today

 

ใส่ความเห็น