กระบวนการพัฒนาประเทศจาก “การปักชำ” ไปสู่ “การสร้างรากแก้ว”

บริการ SaaS สมองออนไลน์

กระบวนการพัฒนาประเทศจาก “การปักชำ” ไปสู่ “การสร้างรากแก้ว”

ผมได้อ่านบทความเช้านี้จากเฟสบุค  ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์  ว่าด้วยเรื่อง  “Roadmap ของการพัฒนา Biotechnology และ Biomedical เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Thailand 4.0”

ชอบใจกับคำเปรียบเปรยการพัฒนาประเทศจาก   “การปักชำ”  ไปสู่  “การสร้างรากแก้ว”     เป็นคำเปรียบเปรยที่ทำให้เห็นภาพ  ที่แสดงถึงเจตนาของรัฐบาลผ่านเพจของท่าน ที่ใครก็ตามที่รู้จักการปลูกพืชโดยเฉพาะพืชที่จะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์หรือมีมูลค่าทาเศรษฐกิจสูงๆ  ให้ยืนต้นอยู่ได้อย่างยาวนานนั้นจะต้องรักษาให้ต้นไม้นั้นมีความแข็งแรงด้วยการมีรากแก้วที่หยุ่งลึก  แข็งแรงก็เป็นคำตอบหนึ่ง

ในวัยเด็ก   ผมอาศัยอยู่ในหน่วยงานสถาบันวิจัยยาง (อำเภอ คลองท่อม จังหวัดกระบี่)  สังกัดกรมเกษตรและสหกรณ์  ที่มีการทดลองปลูกยางพาราสายพันธุ์ต่างๆ  กัน  พร้อมการเก็บสถิติผลการให้น้ำยาง  การทนต่อสภาพแวดล้อม และโรคภัยไข้เจ็บของต้นยางพารา  

นอกจากการทดลองเรื่องสายพันธุ์ยางพาราแล้ว  หน่วยงานฯ ก็ได้ทำการปลูกพืชแซม  ชนิดต่างๆ ระหว่างร่องหรือระหว่างแถวยางพาราที่ห่างกันประมาณ  4 – 5 เมตร (ผมจำได้ไม่แน่ชัด  ที่ตัวเองได้ใช้เงินที่ได้จากการทำสวนยางแต่ไม่ค่อยได้เข้าไปดูแลสวนยางเอง  น่าอับอายมาก)  ซึ่งน่าจะมีสองเจตนา  คือ การค้นหาพืชแซมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของยางพารา ( เช่น พืีชตระกูลถั่ว  หรือข้าวโพดก็มีให้เห็นกัน) ระหว่างช่วงเวลาการรอการเก็บเกี่ยวผล  หรือการรักษาไม่ให้สวนยางรกรุงรัง   หรือ  อาจจะเน้นเรื่องการมีรายได้ระหว่างรอผล 6 – 7 ปี

เรื่องเหล่านี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร   “ไทยแลนด์ 4.0”   “ปักชำ”  “รากแก้ว”  และสวนยาง

ผมตีความให้เป็นประโยชน์กับตัวเอง  และเชื่อว่ารัฐบาลก็คิดเช่นนั้น   กล่าวคือ

เราจำเป็นที่จะต้องสร้างฐานการพัฒนาเศรษฐกิจแบบรากแก้ว  ที่แปลว่าต้องสร้างความแข็งแรง  โดยเน้นที่ตัวทรัพยากรบุคคลที่เป็นรากแก้วสำคัญ  เน้นโดยเน้นให้การสนับสนุนบุคคลากรจำพวก  ผู้ที่มีแนวความคิดดี  ผู้ที่มีความสามารถ  และผู้ที่ความขยันขันแข็งและไม่ควรเน้นที่จะไปส่งเสริม  นักคิด  หรือ SME ที่มีผลงานแบบฉาบฉวยหรือเน้นธุรกิจเฉพาะตน หรือที่ผมเปรียบว่าเป็น  “การปักชำ”  เหมือนการไปตัดยอดกุหลาบพันธ์ุดีสีสวย  มาเสียบ หรือมาต่อยอด ทาบกิ่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมกันช่วงสั้น ๆ  ให้หลงไหลได้ปลื้มว่าสำเร็จมากมายก่ายกองในรอบ 4 ปีของรัฐบาลโน้นนี่นั่น   แต่สุดท้ายต้นไม้ต้นนั้น  พืชพันธุ์สีสวยนั้นนั้นก็ล้มหายตายไป  ไม่อดทนต่อลมฟ้าอากาศ  โรคภัย    

แต่ควรเน้นไปที่การแสวงหานักคิด  นักพัฒนา  ที่แม้นจะยังไม่มีผลงานที่ชัดเจนในเวลานั้น  แต่ต้องมีแววสดใส  แม้นจะไม่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ก็ตามเหตุเพราะทุก ๆ การพัฒนาย่อมต้องการปัจจัยด้านทรัพยากร  ทีมงานและเงินทุนมากมาย

แต่ในขณะเดียวกัน  หากรัฐบาลจะรอให้ทีมนักคิดสายพันธุ์รากแก้วเหล่านี้เติบโต จนสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้  ก็คงต้องใช้เวลานาน  จนรัฐบาลสิ้นสมัยไปก็ได้  ทางออกสำหรับรัฐบาลสำหรับปัญหานี้  คือ  เทคนิคการใช้พืชแซม   ที่ผมหมายถึง  การส่งเสริมนักนวัตกรรม  นักประดิษฐ์คิดค้น  ที่อาจจะไม่ใช่งานนวัตกรรมประเภทพลิกฟ้า  พลิกแผ่นดิน  พิลิึกกึกกือ  แต่เป็นงานนวัตกรรมที่เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้รวดเร็ว    โดยอาจจะส่งเสริมผ่านการประกวดนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ถนัดทำกันอย่างแพร่หลายในตอนนี้  ที่จะไม่ค่อยเห็นการควานหานักนวัตกรรมสายพันธุ์รากแก้ว

หากเป็นการประดิษฐ์คิดค้นซอฟต์แวร์    การปักชำ  จะหมายถึง  นักพัฒนาแอพพลิเคชั่น  แนว Solution เป็นเรื่อง ๆ จบๆ รับเงินกันไป   และนักพัฒนารากแก้ว  เช่น นักพัฒนาต่อยอด  Middleware , framework หรือ iOT  อินเตอร์เฟส 

โดยสรุปคือ  รัฐบาลจำเป็นจะต้องแบ่งสัดส่วนการส่งเสริมนักนวัตกรรม  ทั้งแบบสายพันธ์เร่งด่วน  และสายพันธุ์รากแก้ว   เพื่อให้การเติบโตทางเศรษบกิจเป็นไปได้อย่างสมดุล  ทั้งระยะสั้นจากการปักชำ  และในระยะยาวจากพืชพันธุ์รากแก้ว

อ่านบทความจากเพจของ  ดร สุวิทย์  เมษินทรีย์  ด้านล่างนี้  

“Roadmap ของการพัฒนา Biotechnology และ Biomedical เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Thailand 4.0”

อย่างที่ทราบกันดี Thailand 4.0 มีแนวคิดที่จะเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาประเทศจาก “การปักชำ” ไปสู่ “การสร้างรากแก้ว” ของตัวเอง โดยท่านนายกรัฐมนตรีได้เน้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง จาก “ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกเป็นหลัก” สู่ “ระบบเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองอย่างเหมาะสม”

การไปกล่าวปาฐกถาพิเศษตามคำเชิญของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล ของท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงมีนัยทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง เพราะมีการประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการเปิดตัวยุทธศาสตร์การพัฒนา Biotechnology (เกษตร/อาหาร) และ Biomedical (การแพทย์/สุขภาพ) ถือเป็นการกำหนด “Vision for the Future” ของประเทศ ซึ่งหากทำดีๆ ประเทศไทยมีโอกาสประกาศศักดาในเวทีโลกใน 3-5 ปีจากนี้ไป

มิเพียงเท่านั้น การเยี่ยมชมบริษัท Siam Bioscience ของท่านนายกฯ ก็มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศอย่างยิ่งเช่นกัน โมเดลธุรกิจของ Siam Bioscience ถือเป็นหนึ่งในต้นแบบของการขับเคลื่อน Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะ Biopharma ที่ผลิตโดยSiam Bioscience เป็นผลิตภัณฑ์ที่มี knowledge content สูงมาก ซึ่งเราสามารถผลิตตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ด้วย high knowledge talents ที่เป็นคนไทยล้วนๆ มิเพียงเท่านั้น ยังเป็นการลงทุนแบบประชารัฐโดยคนไทยล้วนๆ (ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับทุนลดาวัลย์) ที่สำคัญ เป็นการ ทดแทนการนำเข้า และมีศักยภาพการส่งออกที่สูงมาก
ผมได้ประมวล Roadmap ของยุทธศาสตร์การพัฒนา Biotechnology สำหรับด้านการเกษตรและอาหาร และยุทธศาสตร์การพัฒนา Biomedical สำหรับด้าน Health และ Wellness (ที่อยู่ในพิมพ์เขียวและแผนปฎิบัติการขับเคลื่อน Thailand 4.0) เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคง มั่นคั่งและยั่งยืน ตามโมเดล Thailand 4.0 เป็นหนึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน ปี 2579 หรือ 20 ปีจากนี้ (ตามรูปข้างล่างนี้ครับ)

2550total visits,1visits today