Server or VPS

Digital Multiverse Ecosystem

Server or VPS

Server  หรือ  VPS  คืออะไร ?

หลายท่านคงจะคุ้นเคยกับ  คำว่า  Server  และ  VPS  พอสมควรครับ   แต่อาจจะยังไม่ได้เจาะลึก  ว่ามันเหมาะกับการใช้งานแบบไหน  หรือแตกต่างกันอย่างไร  รวมทั้งการดูแลรักษา  ความเหมาะสมคุ้มทุนควรจะต้องพิจารณาอะไรบ้าง

  • ความหมาย
  • การใช้งานของแต่ละประเภท
  • การดูแลรักษา
  • Server & Cloud Server
  • ควรจะลงทุนแบบไหนดี

เริ่มกันที่ความหมาย

แต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักหน้าตาของ  Server กันก่อน  ตามภาพครับ   ที่มีกันอยู่หลายยี่ห้อ  และรูปร่างก็เป็น แบบ แบนๆ ในแนวนอน  แบบนี้จะเรียกกันว่าเป็นแบนแบบ Rack  แบบ   Blade  และแบบแนวตั้ง แบบคอมพิวเตอร์ที่เราคุ้นเคย  หรือเรียกว่า Tower

  

Rack Server  & Tower Server                                                                     Blade Server

ภาพรวม ๆ ในตู้ Server  ที่ประกอบด้วย  Server แบบ Rack  และแบบ  Blade   และแน่นอนในห้องนี้ก็เต็มไปด้วยสาย Lan

ครานี้ก็มาดูว่า  ในตัว Server  มีอะไรบ้าง    ก็เต็มไปด้วย  แผ่นวงจรอิเลกทรอนิกส์ (Card) ฮารดดิสก์ (HDD แบบจานหมุน, SSD  แบบ Solid state แนวๆ SD Card)  หน่วยความจำ (RAM)  พัดลม (Fan)  แหล่งจ่ายไป (Power Supply Unit:PSU ที่อาจจะมี 2 ชุดใน 1 Server)

โดยในแต่ละตัวแต่ละรุ่น  ผู้ผลิตก็จัดทำมาให้มีขนาดแตกต่างกันไป  ให้ผู้ใช้งานเลือกซื้อตามความต้องการ ตามกำลังทุนของโครงการ

หรือในบางกรณี  หลายท่านก็เอาคอมพิวเตอร์ธรรมดานี่แหละมาทำเป็น Server ซะเลย  โดยผู้เช่าใช้พื้นที่  ไม่รู้เลยว่ามันคือ Server ตัวจริงหรือตัวปลอม  เล่นเอาคนที่ทำกิจการแบบนี้ในช่วงแรก  ช่อง  ดอทคอม  ร่ำรวยกันไปมากมาย

แล้ว  VPS  คืออะไร  หน้าตามันเป็นแบบไหน

VPS  คือ  Virtual Private Server  คือ  Server แบบเสมือน  มันเป็นราวๆ กับว่า  ทำการแบ่งห้อง ย่อย ๆ ใน Server  เป็นห้องย่อยอีกที

ลองเอาโรงพยาบาล  มาเทียบเป็น  Server ก็แล้วกัน  กล่าวคือ   หาก โรงพยาบาล  เป็น Server  แล้ว  มีเตียงคนไข้แบบ  เตียงในห้องรวม  และเตียงในห้องพิเศษ

  • ห้องพิเศษ  ก็จะเป็น  VPS
  • ห้องเตียงรวม  ก็คือ  การใช้บริการแบบ Hosting  คือ  มีเตียงตัวเองนะแหละ  แต่นอนรวมๆ เรียงกันไป
  • โดยทั้งหมอ  และพยาบาลก็อาจจะใช้รวมกันบ้าง  แต่ในห้องพิเศษก็อาจจะมีคุณหมอ  คุณพยาบาลเป็นพิเศษอีกก็ได้

การใช้งาน  Server กับ  VPS

  • ใครควรจะมี Server  เอง  ก็พวกที่เปิดให้บริการ Hosting  เช่าพื้นที่ทำเวบไซต์  หรือเป็นองค์กรบริษัทใหญ่ ๆ หน่อย  ที่ต้องการใช้พื้นที่  หน่วยความจำ  CPU มาก ๆ ก็ซื้อเครื่องมาลงเองซะเลย  ใช้เองเจ้าเดียว
  • ส่วนคนที่  ต้องการมีความเป็นส่วนตัว  แต่ไม่อยากลงทุนเยอะ  หรือช่วงที่ต้องการทดลอง  โครงการบางอย่าง  ก็สามารถที่จะขอจับจองห้องพิเศษให้พอเหมาะกับขนาดของงาน
  • แล้วคนมาใช้พื้นที่ละ  เรียกว่า  อะไร   เหล่านี้  คือ  เตียงนอนในห้องรวม  ที่ใช้พื้นที่เล็ก ๆ แค่เตียงขอบเตียง  สายออกซิเจน  และการตรวจไข้ของพยาบาลตามเวลาและตามสถานการณ์

แน่นอน  Server ทั้งตัวจึงมีราคาสูงกว่า  VPS    โดย  Server  1 ตัวสามารถแบ่งเป็น VPS  ได้หลายตัว  ขึ้นอยู่กับว่าขนาด  Server เริ่มต้นที่เท่าไหร่  หรือ  VPS  ที่ต้องการจะแบ่ง  มีขนาดเล็กใหญ่เท่าไหร่

การดูแลรักษา

การเลือกใช้  VPS  โดยไปขอเช่าจากคนที่มี  Server  จึงเป็นทางเลือกที่ดี  ตามความเหมาะสมคุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้จากสิ่งที่อยู่ใน VPS  โดย ไม่ต้องกังวลเรื่องการบำรุงรักษา  ซ่อมแซมเปลี่ยนดิสก์  เพิ่มแรม    ขอเพียงแต่จ่ายค่าบริการค่าเช่าให้ตรงเวลา  ก็เป็นอันจบข่าว

แต่สำหรับคนที่เป็นเจ้าของ  Server  ก็จะลำบากหน่อย  ก็ต้องคอยดูแล  ซ่อมแซม  ทำอะไหล่สำรอง  ทำการสำรองข้อมูลยามดึก ดื่น ๆ หรือบางที่ก็ต้องเข้าไปยัง Data Center ยามค่ำคืน    แต่รายได้จากการลงทุน  ให้เช่า  และมีทุนอย่างเพียงพอ  ก็เป็นการลงทุนที่น่าพอใจ  แต่ในทางกลับกัน  เมื่อมีการแข่งขันสูงและต้องสู้กับ  Cloud  Server  ก็ยิ่งเป็นความเสี่ยงของผู้ให้บริการ Server แบบเดิม ๆ  ที่ต้องหาทางออกเตรียมตัวหนี  หรือเพิ่มมูลค่ากิจการจากวิธีการอื่นๆ เช่น  การสร้างแพลตฟอร์ม  ให้บริการบนระบบ Server ของตัวเอง

     

Server & Cloud Server

ก็มาถึงเรื่องนี้  มาทำความรู้จัก  Cloud Server กัน   ที่เราได้ยินโฆษณาว่า  Cloud  ไม่มีล่ม  (แต่จริง ๆ ก็ยังมีล่มไม่ว่าจะรายใหญ่ ๆรายไหนก็ตาม)  นั้นก็เพราะว่า  Cloud server  คือ  การประกอบรวมตัวกันของ  server หลายๆ ตัว  ที่มีหน้าที่ต่างๆ กัน  และสำรองกันและกัน  และจะมีแหล่งจ่ายไฟสำรองจาก 2 แหล่ง  พร้อมไฟสำรองจาก  Generator อีก

ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับพวกที่ชอบโกงขาวบ้าน  ก็เอา  Server ตัวเดียวนี่แหละมาแบ่งเป็น  VPS  แล้วรวมตัวกันเป็น Cloud Server    แต่ลืมยึกไปว่า  ใน Server นั้นหากล่มขึ้นมาหรือสายไฟหลุด  ก็จบข่าว

ดังนั้น  เพื่อให้ได้  Cloud Server ตัวจริง  ที่มีพื้นที่  ทรัพยาการให้ใช้ได้และไม่ล่ม   จึงต้องใช้  Server หลายตัวจริง ๆ  มีตัวที่ทำหน้าที่เป็น  Storage และตัวสำรองอีก  ไหนจะต้องมีศูนย์สำรองอีกต่างหาก  จึงมีมูลค่าการลงทุนราวๆ  10  เท่าของ  Server ตัวเดียว    ฉะนั้นการใช้บริการจากระบบ Cloud  จึงยังมีค่าบริการสูงอยู่มากเมื่อเทียบกับการใช้บริการ Server ปกติ  แต่ต้องแลกกับกับความเสี่ยงที่จะมีเครื่องดับบ้าง

ควรจะลงทุนแบบไหนดี

  • หากต้องการมีเวบไซต์ทั่วไป   ใช้บริการจากโฮสติ้งปกติก็พอละครับ  ค่าบริการปีละ   750 – 1000 บาทรวมค่าโดเมนแล้ว
  • หากต้องการมีกิจการโฮสติ้งของตัวเอง  ก็เริ่มจากใช้บริการ  VPS  จองห้องพิเศษ  แล้วมาทำเป็นโฮสติ้ง  ก็ใช้ได้พอสมควร  ไว้พอมีลูกค้ามากเพียงพอก็ค่อย ๆ ขยับขยายกัน
  • หากมีืุนเพียงพอ  ก็ลงทุนซื้อ Server  เอง แล้วฝากไว้กับ  Data Center อีกที  การฝากวางแบบนี้เรียกว่า  Colocation
  • หากร่ำรวยสุด ๆ ก็วางระบบ Cloud  ไว้กับ  Data Center ซะเลย
  • หนักกว่านั้น  คือ  เปิด  Data Center เอง  ทำ Cloud เองซะเลย
  • แต่หากคุณมีของดี  ผมหมายถึงแอพพลิเคชั่นดีๆ เจ๋งๆ   หรือ  ดิจิทัลแพลตฟอร์ม  ที่พอจะมีลูกค้าเองได้มากมาย  สร้างรายได้เหมาะสม  และดูแลระบบเอง  ก็เป็นโอกาสที่คุณจะทำเองมันทั้งระบบ  ฮารดแวร์  และซอฟต์แวร์
  • แต่หากไม่อยากเป็นภาระเรื่องการดูแลเครื่อง  ก็ยกเรื่อง  ฮารดแวร์ไปให้กับ  Data Center ไปเลย  เช่ากันหลายๆ ปีไปเลย
  • หรือไม่ก็ใช้บริการ  Google Cloud, Amazon, Microsoft  Azure ก็ว่ากันไปตามความเหมาะสม  ความชำนาญ  เพราะระบบ  Cloud แบบนั้น  ผู้ใช้บริการต้องดูแลตัวเอง  หากต้องการการดูแล  ต้องการหมอพิเศษก็อีกราคาหนึ่ง

ก็พอจะเป็นแนวทางได้แล้วว่า  การจะตัดสินใจเริ่มต้นอย่างไร  ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการจะพัฒนาอะไร

ในการให้บริการแพลตฟอร์ม  ของแพลตฟอร์มต่าง ๆ จึงมี Solution ต่างกันออกไป  ที่นอกจากจะต้องพิจารณาเรื่องงเินทุนแล้ว  จะต้องคำนึงถึงการขยายตัว  การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล  และความปลอดภัยจากภัยคุกคามต่าง ๆ  หรือจากการโจรกรรม  จากแฮกเกอร์   จากภัยธรรมชาติ  และเสถียรภาพในการให้บริการ

ก็ขอจบบทความนี้กันตรงนี้นะครับ  หากสนใจใช้บริการ  โปรดติดต่อพันธมิตรของเรา   www.btechcloud.com  บริหารงานโดย  บ บางรักไฮเทค จำกัด  ที่เปิดให้บริการทุกรูกแบบตามงบลงทุนของท่าน  ตั้งแต่   hosting  ไปจนถึง ระบบ  Privtae Cloud  (แท้ๆ  ฮ่าาาๆๆ )   และ ระบบ  Publlic Cloud

18880total visits,1visits today

ใส่ความเห็น