Digital Nation

Digital Multiverse Ecosystem

Digital Nation

ผมลองค้นหาในกูเกิล  โดยค้นคำว่า  Digital Competitiveness Ranking  หรือ ประเทศที่มีเศรษฐกิจดิจิทัลที่แข็งแกร่งที่สุดของปี 2018  หรือ  คำว่า ประเทศแห่งดิจิทัลอะไรทำนองนั้น  ก็ได้รับคำตอบแบบนี้   โดยอ้างอิงจาก  งานวิจัยของ  china.org

  1. อเมริกา
  2. จีน
  3. สิงคโปร์
  4. อังกฤษ
  5. ฮอลแลนด์
  6. ฟินแลนด์
  7. เยอรมัน
  8. ญี่ปุ่น
  9. เกาหลีใต้
  10. สวีเดน

โดยที่ประเทศไทยรั้งตำแหน่ง  39 ของโลก   และลำดับที่ 10 ของเอเชีย   และหากมองในเอเชีย  โดยอิงงานวิจัยชิ้นหนึ่ง  และอ้างอิงจาก  Bangkok Post  และเก็บมาแปล   แม้นมันจะเก่าไปนิดนึง (ปี 2017) แต่ความจริงนี้ก็ยังคงอยู่

ที่มา : Bangkok Post

ในภาพรวมไทยเรานำหน้าอยู่ประเทศเดียวคือ  “เวียดนาม”

จากแผนภาพแสดงให้เห็นว่าเราขาด “คนเก่งทางดิจิทัล”   เราพอจะมีผลิตผลทางด้านดิจิทัลบ้างแต่ก็น้อยมาก ๆ  ประกอบกับนโยบายที่ไม่ชัดเจนของรัฐบาล  ก็เลยส่งผลให้คะแนนความเป็น  “ชนชาติดิจิทัล”  ติดตำแหน่งรั้งท้าย

งานการวิจัยนี้ดำเนินการโดย  AlphaBeta  สถาบันที่ปรึกษาทางด้านยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ในปี 2017  โดยได้ทำการสัมภาษณ์บุคคล 300 คนจากวงการ  การศึกษา  นักนโยบาย  จาก 11 ประเทศในเอเชีย.

Mr. Fraser Thompson กล่าวว่า  “Thailand’s policy focuses more on digital economy rather than digital nation,”  ประเทศไทยมุ่งเน้นแต่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเป็นแบบดิจิทัล  มากกว่าการจะทำให้เป็น  “ชนชาติดิจิทัล”  (เข้าทำนองว่า  เน้นสร้างเศรษฐกิจก่อน  มากกว่าการจะเคลื่อนพื้นฐานของประเทศไปพร้อม ๆ กัน

ในการพูดคุยกันในสัมมนาที่  ม ธรรมศาสตร์ ในครั้งนั้น  กล่าวว่า  เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยนั้นเป็นการเน้นไปในทางหลักการ  วิชาการ  และเป็นการดำเนินการเชิงรับมากกว่า  โดยเป็นเพียงการเฝ้ารอเงินลงทุนจากต่างประเทศ  เช่นว่า  การมุ่งเน้นไปในทางการสร้างระบบพื้นฐาน  สภาพแวดล้อมให้ดูดี  ดูพร้อม  เพื่อรอให้มีการไหลเข้ามาจากภายนอก และการเข้าไปควบคุมในภายหลัง
ในขณะที่คำว่า  ชนชาติดิจิทัลนั้น  จะเป็นการเน้นการสร้างคน  และยกระดับฝีมือแรงงานดิจิทัล   โดยแนวคิดนี้จะช่วยให้เกิด  StartUp ได้จริง  จะเป็นการดึงดูดและเป็นที่สนใจของต่างชาติมากกว่า  และก่อให้เกิดสนามทดลองที่เรียกว่า  Sandboxs

หากจำแนกตามประเภทในตารางจะพบว่า  ไทยเรามีฐานะทางการเงินอยู่ในลำดับที่ 9   และลำดับที่ 11 ในเรื่องผลิตภัณฑ์ดิจิทัล และลำดับที่ 10 ด้านทรัพยาการด้านดิจิทัลและชุมชนดิจิทัลตามลำดับ

ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายการโปรโมท  การจัดเก็บภาษีแบบดิจิทัลของรัฐ  และรวมไปถึงบรรดากฏระเบียบในการควบคุมอีกมากมาย   โดยรวมจึงทำให้ประเทศไทยไม่เป็นที่ดึงดูดสายตานักลงทุนเหมือนประเทศอื่น ๆ.

วิสัยทัศน์ของรัฐเป็นเรื่องที่ไม่สามารถจะเกิดขึ้นจริงได้   รัฐบาลควรเป็นผู้อำนวยในการสนับสนุนให้เกิดเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับธุรกิจข้ามชาติ  อย่างเช่น กรณีของอินเดีย  ที่ร่วมมือกับ Google  ในการเปิดให้มี  Free WiFi  ที่สถานีรถไฟ.

ในขณะที่สิงคโปร์ที่เป็นผู็นำในการออกกฎเกณฑ์   จะมีแนวนโยบายที่มีลักษณะที่ยืดหยุ่น  เป็นผลดีกับธุรกิจด้านการเงิน และด้านสุขภาพ.

เขากล่าวว่า  ประเทศไทยควรจะมีการดำเนินนโยบาย  ในแบบนโยบายเดียว  ขับเคลื่อนจากข้างบนลงล่าง  แต่ต้องเป็นนโยบายที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ มิใช่เป็นเพียงการขับเคลื่อนจากกระทรวง DE. เท่านั้น

ในกรณีของอินโดนีเชีย  ที่ดำเนินการนโยบายจากสองด้าน  คือ  ด้านหนึ่งส่งเสริมความเป็นชนชาติดิจิทัล  และในอีกด้าหนึ่งก็เป็นการเตรียมการด้านรวบรวมข้อมูลสำคัญ ๆ ของท้องถิ่น.

โดยเฉลี่ยแล้ว  จะพบว่าแต่ละประเทศมักจะมีนักนโยบายที่มีอายุราว ๆ  60 -70 ที่ทำงานด้านดิจิทัลนี้  ซึ่งมันไม่ใช่  มันควรจะมีการประสานกันกับคนยุคใหม่ด้วย

จากการสำรวจพบว่า  บรรดาบริษัทนักลงทุนทางด้านดิจิทัล จะมีบทบาทสำคัญในฐานการเป็นผู้ช่วยสร้าง  Start Up ในรูปแบบของการสนับสนุนเงินลงทุน  การสร้างนิเวศที่เหมาะสม  และโปรแกรมการให้การศึกษา.

ขณะเดียวกันบริษัทข้ามชาติเหล่านั้นก็สามารถที่จะเข้าไปมีส่วนช่วยในการสร้างชนชาติดิจิทัลได้เช่นกัน.

โดยรวมก็คือ  การสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล  ควรจะต้องเริ่มที่การสร้าง  พื้นฐานความเป็นชนชาติดิจิทัล  การมีนโนบายที่ชัดเจน  ในการสนับสนุน  ในการให้ความรู้  ในการสร้างความแข็งแกร่งจากรากหญ้า  มากกว่าการมุ่งสร้าง เงิน  รายได้มหาศาลจากบริษัทยักษ์ใหญ่รายใดรายหนึ่ง  หรือไม่กี่รายเป็นที่ตั้ง  เพราะการกระจายรายได้ไม่ได้เกิดขึ้นจริง

หรือจะกล่าวได้ว่า  “ประเทศจะประสบความสำเร็จเป็นชนชาติดิจิทัล  ก็วัดกันที่กิจการเล็กๆ จะต้องยืนหยัดอย่างเข้มแข็งได้”

หากจะมองจุดแข็ง  หรือสาเหตุที่สิงคโปร์มีลำดับที่ 1 ก็น่าจะเป็นเรื่องของการมี  Human Capital  และการมี Digital Community  ที่ดี  มีแหล่งเงินทุนที่ดี  ในขณะที่ผลผลิต  ผลิตภัณฑ์ทางด้านดิจิทัลเองนั้นยังไม่มากพอ

  • ทรัพยากรคนจึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับ 1
  • ชุมชนหรือ Community จะช่วยส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
  • และสุดท้ายคือ  แหล่งทุน  ที่จะขับเคลื่อนกลไกทั้งหลายให้เดินไปได้  และต้องสร้างผลงานให้เป็นที่จับต้องได้  เป็นประโยชน์และสร้างรายได้อย่างแท้จริง

1547total visits,2visits today

ใส่ความเห็น