Back to the future of : Digital Transformation

บริการ SaaS สมองออนไลน์

Back to the future of : Digital Transformation

ที่มาของการเขียนบทความนี้มาจาก 2 เรื่องครับ   คือ  จากบทความ ความล้มเหลวของ Start Up และ เรื่อง  Digital Transformation

อะไร  คือ  หัวใจของความสำเร็จในยุคที่เรามีเทคโนโลยีที่รวดเร็วมาก ๆ ?  ที่ทำให้การสื่อสารแบบข้ามโลกเกิดขึ้นได้ในพริบตา  ดวงอาทิตย์ และพระจันทร์ต่างหากที่หมุนตามไม่ทันจริงๆ

จากบทความ  ความล้มเหลวของสตาร์ทอัพนั้น  ผู้เขียนได้สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการปรับตัวของธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำได้ดีกว่า  กับพฤติกรรมและทัศนติของสตาร์ทอัพจำนวนหนึ่งที่ช้ากว่า “เต่ากับกระต่าย”

เพราะความได้เปรียบด้านเงินทุนของธุรกิจเดิมๆ แต่มีเงินทุนขนาดใหญ่  จึงได้พยายามหนีจากจุดยืนเดิมไปสู่จุดใหม่ได้ง่ายกว่า  ภายใต้การลงทุนทางเทคโนโลยีที่เหมาะสม

การสร้าง CVC เพื่อเฟ้นหาเทคโนโลยีมาปรับธุรกิจของตนเองทำให้หลายๆ องค์กรหนีพ้นไปจากความเสี่ยง Disruption ไปได้  ในขณะที่ สตาร์ทอัพจำนวนมากยังคง “ติดกับ”  กับการปั้้นธุรกิจเพื่อขาย   โดยพยายามสร้าง Transaction ที่ให้ผลตอบแทนต่ำติดดิน (แน่นอนครับ  ก็พอมีสตาร์ทอัพบางรายที่ฝ่าวิกฤติไปได้)

มีกลุ่มไอทีเทคโนโลยีไม่มากนัก  ที่ไม่หลงไปกับกระแสสตาร์ทอัพ  ที่พยายามสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองด้วยรูปแบบที่แตกต่างที่มุ่งสร้างรายได้อย่างจริงจังจากเทคโนโลยีในรูปแบบที่ตัวเองถนัดและลงลึกไปในแบบ “ค่อยเป็นค่อยไป”  มากกว่าการคิดก้าวกระโดดแบบ  “ไร้พลัง และภูมิคุ้มกันต่ำ”

เทคโนโลยี  หรือ  อะไรกันแน่ที่ช่วยสร้างความแข็งแกร่ง  สร้างความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจไปต่อได้ ?  ธุรกิจจำเป็นต้องเลือกองค์ประกอบให้ถูกต้อง

  • Business Model
  • Technology Solution
  • Corporate behavior

Business Model กล่าวคือ  การเลือกธุรกิจ  ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ใช่  วิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่มีความแม่นยำสูง และฝีมือการบริหารที่ยอดเยี่ยม

Technology Solutions  หรือ  เครื่องมือที่จะเข้ามาสนับสนุน Business Model และ Corporate Behavior

ในขณะที่  Corporate behavior  คือ สิ่งสำคัญ ไม่แพ้กัน  และมันคือ  วัฒนธรรมหรือรูปแบบการทำงาน  workflow ขององค์กร  จะแบบไทยๆ หรือแบบฝรั่ง

ผมจะนำเสนอรูปแบบการทำงาน 4 Model  คือ

  • Compartmentalization
  • Multiuser
  • Sharing และ
  • Collaboration

Compartmentalization  คือ  การที่ต่างคนต่าทำ  อยู่กันคนละกล่อง  ไม่ต้องถามว่า  จุดจบจะจบอย่างไร

Multiuser ในวงการ ไอที  ก็เช่นการรุมเข้าไปใช้แอพ หรือ  เวบไซต์ออนไลน์  ในแบบที่ต่างคนต่างใช้  คนละ session  หรือการที่ต่างคนต่างเข้าไปเปิดไฟล์ใน  shared drive ที่เปิดได้ไม่พร้อมกันบ้าง  หรือพร้อมกันบ้างในโปรแกรมสมัยใหม่

ส่วน Sharing เสมือนกับการแบ่งปัน สิ่งที่คนใดคนหนึ่งทำ  โดยอีกคนอาจจะคอมเม้นท์ได้ แต่ไม่ได้มีส่วนในการปรับแต่งให้ตอบโจทย์

ผลลัพธ์ของวัฒนธรรมการทำงานทั้ง 3 แบบที่ผ่านมา  จึงไม่ใช่เรื่องสุดยอดที่จะทำให้องค์กรธุรกิจแข่งขันได้  เป็นเพียงแค่ “me too” หรือทำตามๆ กันไป

Collabortion  คือการทำงานร่วมกันในงานเดียวกัน  ที่จำเป็นต้องทำหลายคนและทำไปพร้อมๆ กัน  ที่จะได้ทั้งความสร้างสรรที่หลากหลาย  ประสิทธิภาพด้านความเร็ว  และความตื่นตัว  การเรียนรู้ไปพร้อมกัน  ที่จะทวีคูณพลังของทีมไปแบบ  Utlimate’y Team Perforamance

Collabaoration  ไม่ใช่สิ่งใหม่  แต่มันคือ “Teamwork” เดิมๆ  ที่มีมาแต่ไหนแต่ไร  ที่พูดกันในทุกชาติทุกภาษา  แต่การทำงานร่วมกันในรูปแบบนี้  เกิดขึ้นได้ยาก  หากมีความห่างไกลกันทางภูมิศาสตร์

Teamwork และ Collaboration จึงเป็นภาษาและวัฒนธรรมของสากล

และ Digital Technology  คือ  สิ่งที่ทำให้  Collaboration แบบระยะทางไกลสุดขอบฟ้า  เกิดขึ้นได้ในพริบตา

Digital Transformation ที่แท้จริง  จึงหมายถึง  “การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานไปสู่รูปแบบ Collaboration โดยมีเทคโนโลยีเป็นกลไกสำคัญ”  ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือโดยตรง  หรือเครื่องมือในการแปลง  การวิเคราะห์ข้อมูล

การทำ Digital Transformation  จึงไม่ใช่แค่เพียงการสรรหาคอมพิวเตอร์มาใช้ในอง์กร  หากแต่จะต้องส่งเสริมให้เกิดสิ่งแวดล้อมการทำงานในแบบ Collaboration ที่แท้จริง

การทำงานร่วมกันบน Google drive  คือ  ตัวอย่างที่ชัดเจนมากที่สุด  การแก้ไขสไลด์บนไฟล์เดียวกันไปหลายๆ คนพร้อมกัน  สะท้อนการประสานความคิด  การสร้าง Spread sheet พร้อมกันหลายคน  ให้แต่ละคนหยอดข้อมูลตัวแปรที่สำคัญไปพร้อมกัน  ในขณะที่ผู้บริหารเฝ้าดูผลการวิเคราะห์ไปแบบฉับพลัน  ในขณะที่อีกคนหนึ่งกำลังนำเอาไฟล์ spread sheet ไปฝังลงไปในไฟล์สไลด์ที่จะต้องส่งให้ผู้บริหารสูงสุดนำเสนอในเช้าวันรุ่งขึ้น  ที่ผู้บริหารจะสามารถแชร์ผลลัพธ์ให้กับผู้เกี่ยวข้องได้รับชมได้ทำความเข้าใจก่อนการประชุม

การแชร์สิทธิ์การทำงานบนไดรก์ โดยผ่านกลไกการแชร์ผ่านอีเมล์  คือกลไกที่สุดแสนจะธรรมดาแต่ล้ำลึกในเรื่องประสิทธิผล  เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังจึงเป็นเรื่องที่สุดยอด

การ  “Back to the Future” ของการทำงานแบบ Collaboration ผ่านเทคโนโลยี  จึงเป็นแก่นของ  “Digital Transformation” ที่แท้จริง

แนวคิดปรัชญาในการออกแบบวัฒนธรรมคือสิ่งสำคัญ  และการเลือกเครื่องมือเป็นเรื่องประกอบรองลงมา  ที่เหลือ  คือ “เปลือก”

ขอขอบคุณที่ติดตามครับ พบกันใหม่ในบทความหน้าครับ

28 Feb 2020

7901total visits,1visits today

ใส่ความเห็น