Samong IOT กับงานวิจัย คิดจริง ทำจริง
แวดวงไทยแลนด์ 4.0 พูดคุยกันมากครับ เรื่อง Big Data IOT และ AI โดย 3 เรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกัน ที่พอจะอธิบายได้ง่าย ๆ ว่า
- IOT คือ ตัวนำเข้า ข้อมูลจากภาคสนาม จากการวัดจากระบบงาน จากกระบวนการผลิตต่าง ๆ ที่สนใจ
- Big Data คือ ข้อมูลขนาดใหญ่ที่เกิดจาก การบันทึกผ่าน IOT เช่นการบัยทึกข้อมูลอัตโนมัติทุก ๆ 1 นาที หรือทุก ๆ 5 นาที ก็จะทำให้เกิดข้อมูลจำนวนมาก
- AI คือ ระบบ อัจฉริยะ คือ ระบบประมวลผลที่ประยุกต์แล้วว่า เราต้องการให้ระบบนั้นฉลาดแค่ไหน อย่างไร
ดังนั้น
- ระบบ AI สำหรับงานใด ๆ จะไม่เกิดขึ้นหากยังไม่มี Big Data
- Big Data จะยังไม่เกิดขึ้นหากยังไม่มี IOT
ห่างหายกันไปนานครับการโครงการดีๆ ไอเดียเด็ด ๆ จากทีมงาน สมอง ( ไทยแลนด์)
คราวนี้เรามีผลงานโครงการการติดตั้ง IOT สำหรับการควบคุมการทำงานของสถานีวิจัยการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมการเกษตร ร่วมกับ บริษัท Inno Green Tech จำกัด เจ้าของลิขสิทธิ์งานวิจัย โดยโครงการวิจัยนี้ได้ดำเนินการติดตั้งมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว กระทั่งมาถึงบทบาทของ IOT
โดยเจ้าระบบควบคุม ด้วย IOT นี้ จะต้องมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบดังนี้
- ควบคุมการทำงานปั๊มน้ำตามระดับของ ลูกลอย รวมปั๊มทั้งหมด 6 ตัว
- วัดอัตราการไหลของปั๊มน้ำทั้ง 6
- วัดแรงดันของระบบอีก 5 จุด
- วัดการใช้กำลังไฟฟ้า โวลต์แอมป์ กำลัง
- วัดค่า pH, EC, Temp compensation
- และระบบจะต้องทำงานในโหมด Auto Manual ได้ สั่ง Start Stop ได้
- บันทึกค่าจำนวน 20 พารามิเตอร์ขึ้น Server ได้
- สั่ง ปรับค่า calibrate เครื่องวัดต่าง ๆ ได้ ผ่านทาง Internet
- ใช้การสื่อสารผ่าน Lan หรือ wifi
- มี Data Logger
- มีพัดลมควบคุมอุณหภูมิภายในตู้
- จอแสดงผล LCD
โดยจะต้องให้ทำงานได้สมบูรณ์ ประหยัด ปลอดภัย ใช้อุปกรณ์ Arduino ให้น้อยที่สุด
คำถามคือ จะต้องใช้ เจ้า IOT รุ่นไหนดี เพราะจะเห็นว่าต้องใช้ input output เยอะมาก ๆ คือ
- Analog Input = 11 (pH,EC, millivolt, temp )
- Digital Input = 6 (ระดับน้ำ)
- Interrupt = 6 (flow meter 6 ตัว)
- Serial Port = 1 ชุด
- PZEM 004T – Energy port = 1 ชุด
จะเห็นว่า
- UNO ตัวเดียวรับไม่ไหว
- จะเห็นว่าAT Mega น่าสนใจ
- จะเห็นว่า DUE ก็น่าสนใจ
ผลการทดสอบสรุปได้ผลดังนี้ครับ
- DUE มันเป็น 32 บิตทำงานเร็วมากสุดยอดเลยโดยเฉพาะการอ่าน port interrupt และมี port interrupt เยอะ เพราะ Digital pin มันใช้ทำ interrupt ได้ทุกขา แต่น่าเสียดาย Software Serial ใช้การไม่ได้บน DUE รุ่นนี้ เลยต้องทำใจ เก็บไว้ใช้งานหน้าที่ไม่ต้องการ ใช้ Software Serial
- AT Mega จึงเป็นตัวเลือกที่ดี แต่ใช้ Interrupt Port ได้เพียง 4 ขา คือ 2,3,18,19 ส่วน 20,21 ต้องเก็บไว้ใช้กับจอ LCD มันโยกไปใช้ ขา SDA1, SCL1 ไม่ได้ เป็นความผิดพลาดที่ชาว Arduino ตำหนิ Mega กันขรม
- ในเมื่อจะต้องใช้ flow ให้ได้อีกตัว ก็เดือดร้อนต้องหา UNO มาวัด flow โดยใช้ขา interrupt 2 แล้วพ่วงเข้า Software Serial port
- และเจ้า pzem ตัววัดพลังงานไฟฟ้า ก็ต้องย้ายไปเกาะเข้า Serial Port 3 (ขา 14,15) วางไว้ที่ 16,17 ไม่ได้
ผลการทดสอบฉลุยครับ โดยรอบการทำงานก็จะช้าหน่อยแต่ก็พอรับได้คือราว ๆ 30 วินาทีต่อรอบ โค้ดยาว พันกว่าบรรทัด รวม 56 KByte และให้ส่งค่าไป Server ทุกๆ 5 นาที
มีภาพมาให้ชมกันคร่าว ๆ ครับ สำหรับโค้ดและระบบ Server ต้องขอสงวนไว้ครับ ที่จะไม่นำมาเปิดเผยในที่นี่
ลุยเองกันเต็ม ๆ ยาวๆ 3 วันเต็ม ๆ
Arduino DUE 32 bit prcessor Arduino AT Mega
Application Samong IOT
โครงการนี้ได้ใช้ แพลตฟอร์ม Server “Samong IOT” verison 1 ที่พัฒนาขึ้นมาเองอย่างเต็มที่ ทำให้มีความยืดหยุ่น เพิ่มเติมฟังก์ชั่นได้ตามความต้องการ โดยแพลตฟอร์มนี้จะได้รับการพัฒนาไปสู่แพลตฟอร์มขนาดใหญ่ ที่จะสามารถบริหารจัดการระบบควบคุมได้ไม่จำกัดจำนวน และไม่ต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ
จากโครงการนี้จะเป็นโครงการนำร่อง ของงานบำบัดน้ำเสีย เปลี่ยนน้ำที่มีกลิ่นรุนแรง มาเป็นน้ำที่ไม่มีกลิ่นได้อย่างมหัศจรรย์ ที่จะนำมาซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสังคม รวมทั้งจะเป็นการแสดงให้เห็นซึ่งศักยภาพของงาน IOT
Samong IOT คือ อีกโครงการจาก สมอง (ไทยแลนด์) ติดตามบทความด้าน IOT ได้ที่ http://samongiot.com
3554total visits,1visits today