Enterprise Architecture & IOT Platform
- งานสถาปัตยกรรม มีความสำคัญยิ่งต่อโครงการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่สำหรับการอยู่อาศัย หรือสำหรับศูนย์การค้า
- งานสถาปัตยกรรมผังเมือง จำเป็นอย่างยิ่งก่อนที่จะสร้างบ้านแปลงเมืองให้มีระบบต่างๆ ถูกต้องสมบูรณ์
- งานออกแบบโครงสร้าง การพัฒนา การแปรรูปองค์กรใดๆ ทั้งภาคธุรกิจ และภาครัฐ ที่จะต้องดีพร้อม ทุกมุมทุกองศา ก่อนการก่อสร้างองค์กรเพื่อให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในยุคดิจิตัล ที่องค์กรโดยเฉพาะภาครัฐที่มีขนาดใหญ่มาก มีความซับซ้อนมาก ที่ต้องให้บริการประชาชนและนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก ที่มี demand สูงๆ เน้นความฉับไวมาก ๆ ก็จำเป็นที่จะต้องพลิกโฉมองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการ
ใช่ครับผมกำลังเกริ่นเรื่องความจำเป็นในการออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) เครือข่ายองค์กร ทั้งทางกว้าง และทางลึก ให้มีการประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการมีระบบไอทีดิจิตัลที่สอดรับกับโครงสร้างองค์กรของภาครัฐอย่างแท้จริง
ระบบไอทีดิจิตัลที่จะติดตั้งใช้งานสำหรับภาครัฐ จึงไม่ใช่เพียงการช็อปปิ้ง ERP สำเร็จรูปมาใช้โดยให้ข้าราชการปรับตัว ปรับกระบวนการการทำงานให้เข้ากับ ERP เหล่านั้น ซึ่งล้วนเป็นสูญเสียในเชิงประสิทธิภาพ ในเชิงระบบงาน และเสียความเป็นอิสระภาพที่ภาครัฐอาจจะต้องตกเป็นทาส ERP จากต่างด้าวสืบไปทั้งด้านค่าใช้จ่ายและการร้องขอการบริการในภายภาคหน้า
ถึงเวลาที่องค์กรภาครัฐ จะได้ออกแบบองค์กรก่อน โดยนำเอาหลักการออกแบบองค์กรสมัยใหม่ และสถาปัตยกรรมไอทีดิจิตัลประสมประสานกันเข้าไป ผมหมายความว่าจำเป็นจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมไอที และรู้ดีในเรื่องสถาปัตยกรรมโครงสร้างองค์กร ปัญหาการไหลของงานในองค์กร รวมไปถึงข้อกฏหมายของประเทศ ให้มีการทำงานร่วมกันของคนในองค์กร (Callobrative) ในการร่วมออกแบบงาน โดยเปิดใจ เปิดข้อเท็จจริง ข้อบกพร่อง จุดคอขวด เพื่อออกแบบระบบที่แย่น้อยที่สุด เมื่อเห็นว่าดีแล้วก็ถึงคราวการพัฒนาโปรแกรมระบบทางด้าน ไอทีดิจิตัล หรือ ERP สำหรับภาครัฐ
ผมขอยกตัวอย่างแผนผัง ส่วนประกอบงานในระบบ ERP มาให้ชมกัน พร้อมกันนี้ก็นำเอาภาพเปรียบเทียบว่า ผู้เล่นหรือผู้ผลิตและให้บริการ ERP ต่าง ๆ นั้น เน้น Module ไหนกันบ้าง
ภาพโครงสร้างส่วนประกอบ Module สำคัญ ๆ ในระบบ ERP
ผู้ผลิตและให้บริการ ERP สำหรับองค์กร
ประการแรกที่จะสังเกตได้จากแผนผัง คือ ขนาด หรือจำนวนของ module ที่มีอยู่มากมาย และหากจะคิดพิจารณาต่อไปว่า แล้วจะมีกี่องค์กร กี่ภาคธุรกิจ และองค์กรเหล่านั้นมีความต้องการ module อะไรที่เหมือนกัน มีความต้องการ module อะไรที่ต่างกัน หากนับรวมส่วนที่ต่างกันอาจจะได้ module นับ หมื่นนับแสนชิ้น หากนับส่วนที่เหมือนกันอาจจะมีนับหมื่นนับแสนชิ้นเช่นกัน และย่อมจะมีความต้องการนักพัฒนาจำนวนมาก ทั้งในขั้นตอนการผลิต ทดสอบและบริการหลังการขาย
มาถึงจุดนี้จึงจะเห็นในอีกมิติหนึ่งว่า การพัฒนา ERP ไปสู่ธุรกิจนั้น มีขนาด มูลค่าตลาดที่ใหญ่มาก ๆ หากผู้ใดสามารถผลิตออกมาโดยตอบโจทย์สารพัดได้ในระยะเวลาอันสั้นก็จะเป็นเจ้าตลาดได้อย่างง่ายดาย แต่ความยากคือ ใครจะออกแบบ 1 ERP ให้ตอบโจทย์ใครได้ทั้งหมด หมายความว่าสุดท้ายผู้นั้นก็จะเป็นเพียงผู้เล่น ERP ที่ผลิตเพียง Module หนึ่ง ๆ อีกรายหนึ่งแค่นั้นเอง
แปลว่าหากองค์กรใด ๆ สามารถสร้างคน ให้สามารถออกแบบสถาปัตกรรมโครงสร้างระบบงาน และสร้างงาน module ERP ได้เอง และประสานกับองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ และทำขนานกันไป ก็จะเกิดเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ และมีความยั่งยืน เครื่องมือ ERP ของระบบนั้นจะมีความสามารถตรงตามที่ต้องการ ที่จะสามารถถ่ายทอด ส่งมอบข้อมูล รายงาน การประมวลผลที่จำเป็นระหว่างกันได้ ก็จะยิ่งทำให้ระบบพัฒนาได้เร็ว และมีเสถียรภาพ
ในอีกมิติ คือ มิติการพัฒนา และการบำรุงรักษา ใครจะเป็นผู้พัฒนา จะพัฒนาด้วยระบบอะไร และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา จะต้องมีมูลค่าขนาดไหน ต้องการบุคลากรกี่คน ล้วนเป็นคำถามที่ใหญ่มาก ๆ
ภาพมิติ ERP องค์กร และ ERP ภาครัฐนั้นดูใหญ่มาก ๆ แต่ก็สามารถอธิบายเทียบเคียงได้กับอีกเทรนด์หนึ่ง ที่กำลังมาแรง และกำลังจะแซงนำทิ้งห่างเราไปอย่างรวดเร็ว นั่นคือเรื่อง ระบบ IOT โดยภาพแรกที่นำเสนอนี้ คือ Layer หรือระดับชั้น หรือ Platform ย่อย ๆ ของระบบ IOT ที่ไล่เรียงมาจากอุปกรณ์ระดับ ภาคสนาม การส่งข้อมูล การคำนวณแยกแยะข้อมูลเบื้องต้น การจัดเก็บ การประมวลผล ไปจนถึงการนำเสนอ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกัน
ที่มา Automation.com
ในแต่ละชั้นของระบบ IOT นั้นมีความต้องการ 3 ส่วน คือ
- การออกแบบภาพรวมระบบในแต่ละชั้น
- การออกแบบการสื่อสารทะลุขึ้นไป ลงไปยังชั้นล่าง การออกแบบฮาร์ดแวร์ ในแต่ละชั้น เช่น ชั้นล่างต้องการอุปกรณ์ชนิดไหน ส่วนชั้นเครือข่ายก็ต้องออกแบบว่าต้องการเครือข่าย การสื่อสารชนิดไหน และ
- การออกแบบ พัฒนาซอฟต์แวร์ในแต่ละชั้น และให้ทั้งหมดมันร้อยเรียงคุยกัน ทำงานกันได้ถูกต้อง
มีคำถามว่า เราจะต้องการนักพัฒนาจำนวนมากมายแค่ไหน และสามารถหาได้หรือไม่ในสภาพตลาดปัจจุบัน คำตอบที่ผมขอท้าทายวงการเลยคือ “ไม่มี ไม่มีเหลือ และจะตายหมด ต่างคนต่างอยู่ หรือจะมีการจับกลุ่มกันก็น้อยมาก และจับกลุ่มกันก็เพื่อแข่งขันกับอีกกลุ่มหนึ่ง และไม่นานก็จะมีผู้แพ้และเดินออกไปจากวงการ ต่อมาก็จะเกิดการแข่งขันกันภายในกลุ่ม จนต้องแยกทางกันไป”
จะเห็นว่า ปัญหามีสองส่วนใหญ่คือ เรื่อง
- เทคนิค เทคโนโลยีที่จะมาตอบโ๗ทย์ความต้องการขนาดใหญ่ ที่ซับซ้อน และ
- อีกด้านคือจิตวิญญาณ พลังในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน
มีคนกล่าวว่า “ไทยแลนด์ 4.0 คำตอบ คือ คน” แต่ผมขอแย้งว่า คือ “จิตวิญญาณ” ของคนต่างหาก หากคนมีจิตวิญญาณดี คิดดี ทำดี มีความคิดในการร่วมกันทำงาน มีกลไกในการควบคุมดูแลกันเอง มีรายได้ที่ต่อเนื่องและมากเพียงพอ ให้กินอิ่มนอนหลับ ฝันดี มีไอเดียบรรเจิด งานที่ออกมาจากกลุ่มก้อนของพวกเขาเหล่านั้นก็จะเป็นงานสร้างสรร มีคุณภาพ และพวกเขาจะสร้างอะไรต่อไปอีกก็ได้ ประเทศนี้ก็จะเล็กนิดเดียวสำหรับพวกเขา
- พวกเขาอยู่ที่ไหน จะให้เกิดการรวมพลังกันได้อย่างไร
ผมได้แตกประเด็นออกมาไกล ไกลมาก ที่เริ่มจาก สถาปัตกรรม ถึง ERP องค์กร ERP รัฐบาล ถึง สถาปัตยกรรมของ ไอโอที มาจนถึงความจำเป็นในการสร้างนักพัฒนา เพื่อความยั่งยืนและแข่งขันได้ของประเทศ
คำตอบอยู่ที่ไหน
- การมีเทคโนโลยีที่จำเป็นของตนเอง
- เทคโนโลยีที่มีสายพันธุ์ต้นแบบ
- เทคโนโลยีที่ยืดหยุ่นขยายตัวเติบโตได้แบบเซล แบบรังผึ้ง ด้วยเทคโนโลยี Microservices
- เทคโนโลยีที่สื่อสารได้ด้วย API กับเทคโนโลยีค่ายอื่น
- แนวคิดการสร้างคนอย่างมีเอกลักษณ์
- เทคนิคการพัฒนาคนเหล่านั้นให้สร้างงานได้รวดเร็ว
- พันธมิตร แนวร่วม หรือช่องทางการสนับสนุนด้านการเงิน
- โครงการหรือชิ้นงานเพื่อพิสูจน์ความสามารถ
- การสนับสนุนจากภาครัฐ
วันนี้เราอยากจะบอกว่า เราเดินทางในที่สว่างมาแล้วใกล้ครบเวลา 2 ปี เรามีการพัฒนาความพร้อมเป็นอย่างมากในระยะเวลาที่ผ่านมา และเราปัจจัยพร้อมสำหรับข้อ 1 – 6 เราสามารถแสดงให้ท่านเห็นได้ว่าเทคโนโลยีและแนวคิดของเราสามารถตอบโจทย์ด้านไอทีดิจิตัลได้ นับมาตั้งแต่เรื่อง IOT ไปจนถึงงานระดับ Enterprise
ระดับชั้น รูปแบบการให้บริการ
การออกแบบมองระบบรวมเปนชั้น ๆ ของแพลตฟอร์มย่อย ที่มีส่วนเชื่อมโยงถึงกัน มีองค์ประกอบการกระจายข้อมูลแบบ blockchain
iSTEE & Samong platform คือ คำตอบที่ไม่ต้องพิสูจน์อีก ผู้ที่กล้าหาญที่มองเห็นอนาคตเท่านั้น ที่จะรีบหยิบฉวยโอกาสอันยิ่งใหญ่นี้ และร่วมเดินทางไปกับเรา
องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ที่สนใจในแนวคิดดังกล่าวแล้ว สามารถติดต่อมาได้ที่ email : paipat.s@samongthailand.com
5052total visits,1visits today