คุณค่าของการสร้าง Digital Culture

Digital Multiverse Ecosystem

คุณค่าของการสร้าง Digital Culture

คุณค่าของการสร้าง Digital Culture

ทุกวันนี้มีผู้คนเริ่มเข้ามาถามผมว่า การสร้าง Digital Culture นั้นเราสามารถจะเริ่มต้นอย่างไร

ผมอยากแบ่งปันมุมมองการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพราะถ้าอยากประสบความสำเร็จ และก้าวไปให้ถึงศักยภาพสูงสุดด้านการนำองค์กรไปสู่องค์กรแห่งดิจิทัล คุณต้องยอมรับเรื่อง Digital Culture ต้องพยายามทำให้ทุกคนในองค์กรทำให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต

1) โครงสร้างจะต้องแข็งแกร่ง วัฒนธรรมดิจิทัลจึงไม่ควรเป็นนโยบายข้อหนึ่งเท่านั้น แต่ควรเป็นหนึ่งในกลยุทธที่ใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรและพัฒนาองค์กร ซึ่งการเริ่มต้นที่ดีควรเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงก่อน

โดยการให้ผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพทั้งด้านการพัฒนาคนและเทคโนโลยีเข้ามาทำหน้าที่เป็นโค้ชสำหรับผู้บริหารก่อน เพื่อพิสูจน์ถึงประโยชน์ที่ได้จากการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลด้วยตนเอง จะเห็นได้ว่าทางปฏิบัติทางผู้บริหารไม่ควรมองข้ามการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก จากประสบการณ์ผม พอผลลัพธ์ออกมาดี ผู้บริหารระดับสูงจะเป็นแม่ทัพใหญ่ในการผลักวัฒนธรรมดิจิทัลด้วยตนเองเลย

กระบวนการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลจะต้องสอดคล้องไปกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆในองค์กร ซึ่งจะต้องเพิ่มความสามารถของคนในองค์กร หรือบางองค์กรมีคัดเลือกคนกลุ่มหนึ่งมาสร้างเป็น Change Digital Agent เพื่อสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและพัฒนาเครื่องมือด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง

2) พื้นฐานต้องพร้อม คือการสร้างทักษะพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีให้คนในองค์กร ประเด็นนี้ที่สำคัญคือ การคัดเลือกโค้ชดิจิทัลเพื่อเข้ามาช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจทั้งในระบบเทคโนโลยีและธุรกิจ ถ้าเคยมีประสบการณ์ทั้งด้านคนและเทคโนโลยีจะเป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจบริบทของทุกฝ่ายได้รวดเร็ว

3) สร้างระบบติดตามผลที่ดี เป็นการรวบรวมข้อมูลด้านคุณภาพและการนำทักษะดิจิทัลไปใช้ โดยอาจขอ Feedback จากผู้นำแต่ละหน่วยงาน และนำผลมาแบ่งปันให้ผู้บริหารที่สนับสนุนได้เห็นความคืบหน้า เพื่อชี้ให้ผู้บริหารเห็นประโยชน์ถึงการมีทักษะดิจิทัล และใช้ได้ในการบริหารจัดการในองค์กร

4) สร้างกลุ่มหรือทีม Change Digital Agent เพื่อให้เกิดผลักดันวัฒนธรรมดิจิทัลแพร่หลายออกไปในการบริหารคนและทีม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้ทักษะดิจิทัลในการประชุม การระดมสมองกับทีมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อขยายวัฒนธรรมดิจิทัลให้แพร่หลายออกไปในกลุ่มต่างๆ

5) เพิ่มพลังให้แก่การบริหารด้าน HR ด้วยเครื่องมือดิจิทัล เพื่อให้สอดคล้องกับการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล เช่น การแจ้งเตือนประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ระบบการตอบแทน หรือระบบอื่นๆ เป็นต้น

6) การประเมินผล การประเมินผลสำเร็จเป็นงานที่สำคัญ ซึ่งอาศัยการประเมินจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานว่า พวกเขารับรู้ได้อย่างไรว่า ผู้บริหารช่วยให้เขาบรรลุเป้าหมายในการมีทักษะดิจิทัล ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบเพื่อที่จะได้ปรับปรุงและแก้ไขส่วนใดส่วนหนึ่งให้มีความแข็งแรงและมั่นคงยิ่งขึ้น

7) การประเมินผลจากภายนอก เพื่อสร้างความมั่นใจว่า องค์กรนี้มีโครงสร้างที่แข็งแรง เพราะการประเมินจากภายนอกจะช่วยเสริมให้ผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรสามารถสร้างความร่วมมือ (Collaboration) และความน่าเชื่อถือได้อย่างยั่งยืน

8) สร้างชุมชนดิจิทัลแห่งความร่วมมือ คือการสร้างและกระชับความสัมพันธ์ ในลักษณะที่เอื้อประโยชน์แก่กันและกัน ต้องทำให้คนชุมชนรู้สึกว่าการช่วยกระจายวัฒนธรรมดิจิทัลจะช่วยสร้างชื่อเสียงให้แก่ตัวเองด้วย

ดังนั้น ถ้าหากเราจะเพิ่มขีดความสามารถในแข่งขันขององค์กรในยุคจิทัล สิ่งสำคัญก็คือ เราต้องยอมรับและเข้าใจบทบาทที่เปลี่ยนไปของเทคโนโลยีดิจิทัลในโลกที่เชื่อมโยงถึงกันความร่วมมือ (Collaboration) ซึ่งในทางการปฏิบัติอาจใช้เวลา 1 – 5 ปี ที่จะนำไปสู่หัวใจแห่งการนำองค์กรไปสู่วัฒนธรรมดิจิทัลได้อย่างแท้จริง

#ดร.แอนดี้

26-02-2561

#Digital Coach

6510total visits,2visits today

ใส่ความเห็น