Virtual Banking
Virtual Banking หรือ ธนาคารแบบเสมือน เป็นช่องทางรูปแบบใหม่สำหรับการเข้าถึงและใช้บริการของธนาคาร โดยไม่จำเป็นต้องเดินไปถึงที่ทำการจริงๆ ของธนาคาร ซึ่งก็เป็นไปได้ในทุกวันนี้ก็ด้วยความสามารถของเทคโนโลยี แหละจึงเป็นที่มาของ Virtual Banking
สถาบันการเงินใดๆ ก็ตามที่ให้บริการของธนาคารในแบบออนไลน์ได้ ก็เรียกได้ว่าเป็น Virtual banking ทั้งนั้น ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้แบบออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการชำระบิลค่าไฟฟ้า การตรวจสอบสถานะบัญชี การชำระเงินกู้ การถอน การฝากเงินได้ตลอดเวลาได้อย่างสะดวกสบาย.
ตัวอย่างรูปแบบของ Virtual Banking ก็เช่น ตู้ ATMs, การใช้เทคนิค “magnetic ink character recognition code” หรือ (MICR), การทำการชำระดุลการเงินทางอิเลกทรอนิกส์, การโอนเงินอิเลกทรอนิกส์, RTGS, การทำการชำระเงินด้วยคอมพิวเตอร์ หรือการจัดการศูนย์กลางกองทุน.
ข้อดีของการทำธุรกรรมธนาคารในแบบออนไลน์คือความสะดวก รวดเร็ว ที่ลูกค้าผู้ใช้บริการจะทราบถึงสถานะการทำธุรกรรมได้ในทันที ไม่ต้องรอเป็นเวลาหลาย ๆ วันหรือหลายๆ เดือน ในด้านต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ และที่จะกลายมาเป็นภาระของผู้ใช้บริการก็จะถูกลงเพราะเร็วกว่าง่ายกว่า.
ยิ่งไปกว่านั้น ความรวดเร็วในการตอบสนองก็จะเพิ่มเร็วมากขึ้นไปพร้อมๆ กับความพยายามในการพัฒนาระบบธนาคารออนไลน์ ที่ผู้ใช้บริการจะกระทำการได้ทุกเวลาที่ต้องการ.
ที่มา : http://businessjargons.com/virtual-banking.html#ixzz4rXdltXkK
ทางด้านเทคนิค
ลองจินตนาการว่า ธนาคารหนึ่ง ๆ ที่เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 100 ปี หรือธนาคารที่อาจจะเปิดมาไม่นานนักแต่มีจำนวนลูกค้า จำนวนหลัก 10 ล้านบัญชี รวมทั้งปัจจุบันธนาคารยังเป็นจุดให้บริการลูกค้าที่ไม่มีบัญชีกับตนเองได้อีกด้วย ดังนั้นจำนวนธุรกรรมที่แต่เดิมเปิดให้บริการอยู่ในสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศกว่า 1000 – 2000 สาขา ที่มีธุรกรรมวันละประมาณ 1 ล้านรายการ แต่ต่อมาได้ปรับมาใช้การบริการในระบบออนไลน์ ประกอบกับนิสัย “ยิ่งสะดวก ยิ่งใช้” และมีการแถมท้าย การส่งเสริมด้วยบริการต่าง ๆ เช่น การซื้อสินค้าผ่านระบบ QRCode และทำการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ ก็จะทำให้จำนวนของธุรกรรมเกิดขึ้นอย่างมากมาย หลายเท่า
คำถามคือ ธนาคารนั้นๆ จะมีระบบที่ใหญ่ หรือฉลาด หรือรวดเร็วขนาดไหน จึงจะสามารถรองรับการให้บริการที่มีปริมาณมาก แม่นยำ รวดเร็ว และมีความปลอดภัยสูงขนาดนั้นได้
ธนาคารจะมีจุดบริการแบบรวมศูนย์ หรือแบบกระจายศูนย์ ฐานข้อมูลควรจะเป็นแบบไหน ต้องรวมศูนย์หรือกระจายศูนย์ การแบ่งการทำงานของ CPU ของ Server ควรจะต้องเป็นแบบไหน Micro-service ของบางแบงค์ คือคำตอบหรือไม่
เหล่านี้ ความยากไม่ใช่เรื่องของเทคนิคการเขียนโปรแกรม แต่ความยาก คือการออกแบบที่จะต้องตอบโจทย์ ความซับซ้อน การสเกล การลงทุนเริ่มต้น การขยายตัว ค่าบำรุงรักษา ที่สำคัญมากๆ พอกันกับเรื่องความรวดเร็ว และแลกกันไม่ได้ อ้างไม่ได้ ว่า “มันใหญ่ เลยต้องช้า”
Fintech ที่ออกมาให้บริการการชำระเงินอิเลกทรอนิกส์อีกจำนวนมาก ที่ร่วมลงแข่งขัน และแบงค์ใหญ่ก็กระโดดลงมาในตลาดออนไลน์ ก็จะทำให้เราทราบตัวผู้เข้าเส้นชัยในไม่ช้านี้
การแข่งขันของยักษ์ใหญ่ ที่ทะยอยปล่อยมุขหมัดเด็ดกันคนละทีสองที ย่อมทำให้ตาอยู่ ที่คอยจับตาการย่างก้าว ได้ทราบ แนวคิดการตลาดว่าใครจะมีแผนอย่างไรเพื่อยึดครองการกลุ่มลูกค้า
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก อาจจะไม่สู้ ปลาช้ากินปลาเร็ว และอาจจะมีปลาช้าแต่ฉลาดที่จ้องงับปลาเร็วที่ชะล่าใจก็เป็นได้
2924total visits,1visits today