เมื่อสิงคโปร์ยึด “พลเมืองคือศูนย์กลาง” เมืองอัจฉริยะ

Digital Multiverse Ecosystem

เมื่อสิงคโปร์ยึด “พลเมืองคือศูนย์กลาง” เมืองอัจฉริยะ

ผมอ่านบทความนึงว่าด้วย เมืองใหม่สิงค์โปร์ ที่มุ่งเน้นเอาพลเมืองเป็นศูนย์กลาง ก็เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะ

เมืองอัจฉริยะ หรือ SmartCity เป็นคำที่ได้รับการกล่าวถึงกันมาก และมีข่าวคราวการขับเคลื่อนกันอย่างต่อเนื่องทั้งจากรัฐบาล และกลุ่มชุมชนต่าง ๆ ทั่วไทย รวมทั้งกลุ่มของพวกเราด้วย ที่จะไม่ยอมตกกระบวนกับเขา

องค์ประกอบของความเป็นเมืองอัจฉริยะบ้านเราที่จะได้รับการสนับสนุนติดป้ายรับประกันภัย โดยรัฐบาล ก็เหมือนแขวนป้ายเชลชวนชิมในสมัยก่อนนั้น ที่ได้ถูกกำหนดว่าจะต้องพัฒนาให้มีรสชาติดี หรือมีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ หรือ Smart Environment และอีกด้านหนึ่ง คือ 1 ใน 6 ด้านที่เหลือ เช่น Smart Energy, Smart Mobility, Smart Government, Smart Education, Smart Health , Smart Life อะไรทำนองนี้

จะว่าไปแล้ว เป้าหมายการสร้าง Smart City คือ การตอบสนองให้ผู้คนในสังคมนั้น ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สะดวก ปลอดภัย อยู่ดีกินดี มีรายได้ มีความสุข รวม ๆ จึงน่าจะเรียก Smart City ว่าเป็น Smart Life ซะมากกว่า

นั่นแปลว่า หากเมืองอัจฉริยะเมืองใด ผู้คนไม่มีความสุข ไม่มีชีวิตที่ดีขึ้น หรือเป็นการตอบโจทย์ของผู้คนเพียงบางส่วน ส่วนที่จะมีรายได้มากพอที่จะใช้ประโยชน์จาก feature แพงๆ ของเมือง โดยยังมีคนอีกจำนวนมาก ที่เฝ้ารอคอยโอกาสนั้น แต่ไม่เคยได้สัมผัส สุดท้ายก็ไม่ต่างจากการเป็นเมือง ที่มีความเหลื่อมล้ำของผู้คน เหมือนปัจจุบัน (2562)

การยึดพลเมือง หรือ User ของระบบ เป็นศูนยกลาง ในการพัฒนาเมือง redesign เมืองของสิงค์โปร์ จึงเป็นแบบอย่างที่ดี ที่เราไม่ควรมองข้าม

ทัศนะของเราจึงเห็นว่าควรเน้น มุ่งตอบโจทย์ ความยั่งยืน ความสุขของผู้อยู่อาศัยในเมือง การมีส่วนร่วมของคนจำนวนมาก ทั้งในการคิด การสร้าง และการใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีรายได้จากกิจกรรมตามความรู้ความสามารถที่มี และมีจุดแข็งประจำเมือง รวมไปถึงการเชื่อมโยง ประสานกับเมืองอื่นๆ อย่างสร้างสรร เกื้อหนุนกันและกัน ไปตลอดทั้งประเทศ และภูมิภาคเอเชีย และทั่วโลก

แน่นอนครับ เราไม่ได้ปฏิเสธการเกิดขึ้นของการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของรัฐ หรือเอกชนผู้รับสัมปทานสร้าง เช่น ถนนหนทาง ระบบไฟฟ้า ประปา รถเมล์ รถไฟฟ้า อัจฉริยะ ๆ ทั้งหลายแหล่ รวมไปถึงระบบ Ecosystem ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการรวมมิตรสารพัน brand เช่น ผู้ให้บริการระบบ gateway hub, mobile 5G ที่จะเต็มไปด้วย แบรนด์ เกาหลี จีน ฝรั่ง ยกเว้นอยู่ชาติเดียวคือ ชาติไทย คือจะไม่มีผลิตภัณฑ์ติดธงชาติไทยเลย หรือจะมีแต่ก็น้อยมาก ๆ

แล้วมันน่าภาคภูมิใจตรงไหน และรายได้จากการให้บริการเหล่านั้น คือเงินจากกระเป๋าของใคร และรายได้เหล่านั้นจะไหลไปไหน เงินภาษีเก็บได้มากน้อยแค่ไหน เกิดการหมุนเวียนของรายได้แค่ไหน คนไทยเจ้าของเมืองจะค่อย ๆ ผอมแห้ง เลือดภาษีไหลออกจากเมืองแค่ไหน ใครที่จะต้องตอบและรับผิดชอบ

ในฐานะที่เราเป็นนักคิดนักพัฒนา มีความกังวลถึงความจีรังยั่งยืนของการพัฒนาเมืองในครั้งนี้ ว่าผลลัพธ์คือ เมืองร้าง อีกเมืองหนึ่งไหม การบำรุงรักษาสร้างเมืองจะต้องใช้ต้นทุนขนาดไหน

โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ ที่จะเป็นหัวใจความสำเร็จของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่จะเป็นเครื่องมือในฐานะตัวประสาน เชื่อมโยงทั้งด้านฮาร์ดแวร์ จนกระทั่งมาเป็นระบบ information เป็นแพลตฟอร์มที่ทำงานบนมือถือ ให้ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ประหยุดและปลอดภัย

ขอบคุณภาพจาก : https://medium.com/the-service-gazette/singapores-journey-in-designing-user-centred-public-services-3a7c63bd8ca
คำถามตัวโตๆ คือ จะใช้ซอฟต์แวร์อะไรในการพัฒนาเมือง จะใช้ใครร่วมพัฒนา จะใช้ใครร่วมรักษา จะมีค่าใช้จ่ายมหาศาลขนาดไหนในการพัฒนา

แต่เรา ชุมชน อัจฉริยะ Thai SmartCity Community จะขอบอกว่า เราตอบคำถามเหล่านี้ได้

  • iSTEE Middleware & Samong Framework คือ ซอฟต์แวร์สำหรับพัฒนาเมือง
  • เราจะสร้างนักพัฒนาให้เรียนรู้เครื่องมือและแนวทางในการพัฒนา
  • เขาเหล่านี้จะร่วมรักษาระบบ
  • เขาเหล่านี้จะสร้างรายได้โดยการพัฒฯางาน แตกแขนงไปอย่างต่อเนื่อง
  • ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาจึงต่ำที่สุด

ขอบคุณภาพจาก : https://www.iwireless-solutions.com/demystifying-the-process-of-making-your-smart-city-proposal-a-reality/

และเป็นคำถามให้มองย้อนกลับไปอีกครั้งว่า การประกาศพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วไทยที่เกิดขึ้นนั้น จะพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงจังได้อย่างไร ใครขับเคลื่อน แหล่งเงินทุน ทีมพัฒนา ค่าใช้จ่ายสำหรับทีมพัฒนา ความต่อเนื่องยั่งยืนในการบำรุงรักษา และสำคัญที่สุดคือ เครื่องมือด้านซอฟต์แวร์ ในการประสานเชื่อมโยงให้เมืองอัจฉริยะเป็นจริง

  • การสร้างเมืองอัจฉริยะ จึงต้องเป็นการสร้างเมืองที่มีระบบ “ระบบเมืองอัจฉริยะ” ที่ต้องทำต้องสร้างเมืองให้เป็นระบบ และต่อยอดด้วยการทำระบบให้เป็นอัจฉริยะ ให้สามารถพัฒนา ดูแลระบบ ให้เติบโตได้ยั่งยืน
  • การให้คุณค่าเมืองอัจฉริยะ จึงต้องมองถึงประโยชน์ของเมืองอัจฉริยะ ที่จะต้องมาจากการออกแบบสถาปัตยกรรมเมืองอัจฉริยะ
  • ด้วยเครื่องมือที่เรามี จึงสามารถตอบโจทย์ความยั่งยืนของระบบเมืองอัจฉริยะได้

จึงขอเชิญชวนทุกท่าน มีส่วนร่วมในการระดมความคิด แบ่งปันประสบการ เพื่อช่วยกันสร้างสรร เมืองอัจฉริยะ ที่มีพลเมือง มีทกคนเป็นศูนย์กลาง

11255total visits,2visits today

 

ใส่ความเห็น