อนาคต ERP จาก Desktop ถึง RPA บน Cloud ? นะออเจ้า
อนาคต ERP จาก Desktop ฤาจะไปไกลถึง RPA ?
ด้วยกำลังนั่งทางใน พิจารณา ว่าด้วยหน้าตาของ ERP แห่งอนาคต ว่าจะมีหน้าตามีแขนขาอย่างไร
ERP ย่อมาจาก Enterprise Resources Planning หรือ โปรแกรมการวางแผนการจัดการทรัพยากรใองค์กรธุรกิจ จะเรียกง่าย ๆ ว่าโปรแกรมช่วยในการทำงานของไม่ผิดนัก
ยุคสมัยก่อนที่ยังไม่มีไฟฟ้า ประปา หรือ คอมพิวเตอร์ นั้น เจ้าของกิจการผู้ทำการค้าขาย ทำการจัดเก็บข้อมูล ทำการคำนวณ ทำการวิเคราะห์อย่างไรนี่น่าคิดอยู่ เลยกลายเป็นว่า เจ้าของคนไหนหัวดี ความจำดี คำนวณเก่ง แถมปากเก่ง คิดการ เอาเปรียบ ทำกำไรได้เก่งก็ร่ำรวยกันไป เรียกว่า ช่องว่างระหว่างคนเก่งกับไม่เก่งนั้นกว้างมาก ๆ
เอาละ พอต่อมามีเครื่องคิดเลข มีคอมพิวเตอร์ให้ใช้งาน ก็เป็นการช่วยให้ เจ้าของกิจการ ที่สมอง ไม่เก่งมากนัก ก็พออาจจะปรับช่องว่างกับคนหัวดีขึ้นมาได้ ด้วยการอาศัยความสามารถของคอมพิวเตอร์ หรือ ว่าจ้างคนเก่งมาช่วยทำงานเฉพาะอย่าง เช่น งานบัญชี งานการเงิน งานการผลิต
ก็ทำให้กิจการที่รู้จักประยุกต์ใช้ หรือหูไวตาไวกับเทคโนโลยี ก็สามารถปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้
ต่อมาก็เป็นยุคแห่งการมีโปรแกรม ช่วยงานองค์กรที่มีความสามารถ Feature หรือลูกเล่นแบบสุดยอดออกมามากขึ้น ทำงานได้หลายอย่าง หลายฟังก์ชั่น หลายหน้าที โดยมีคนคอยใส่ คอยป้อนข้อมูล กดปุ่มโน่นนี่ไป เป็นว่ายุกต์นั้น และก็หมายถึงยุคนี้ด้วย (2018) ก็ยังมีคน กับ คอมพิวเตอร์คู่กัน
ผมพักไว้ตรงนี้ก่อน เรื่อง คน กับ คอม ทำนาประสาคน หรือ คนกับคอมฯ ทำนาประสาคอมฯ
กลับไปดูเรื่อง ที่อยู่ที่ใช้ของ โปรแกรมพวกนี้
- ที่เริ่มจากคอมตัวเดียว
- ต่อมาก็เป็นระบบเครือข่าย ทำงานในออฟฟิต
- ต่อมาก็ ไม่ต้องไปออฟฟิตแล้ว ต่อสายหมุนโมเด็ม เข้าออฟฟิตก็ได้
- เท่ห์หน่อย ก็เป็นการฝากระบบ ERP ไว้บน Server ในแบบ Hosting
- ด้วยวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ทั้งระบบเครือข่าย ระบบการสื่อสาร และเครือข่ายมือถือ ที่มีความเร็วมากขึ้น จนทำให้ทุกอย่าง ห่างกันเพียงแค่หยิบมือเดียว
- บัดนี้ เทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไปไกลมาก จนระบบ ERP ต้องเคลื่อนย้ายไปสู่อีกระบบใหม่ คือ Cloud ที่อันที่จริงมันก็คือ Server นะแหละ แต่เพียงแต่เป็นการจัด Configuration ทั้งด้าน ฮาร์ดแวร์และด้านซอฟต์แวร์ ทำให้เรียกได้ว่า ระบบ ที่อยู่บน Cloud นั้นมันจะตายยาก หรือไม่ดับไม่เจ๊งลงได้ ก็กลายเป็นสิ่งใหม่ งานด้าน ซอฟต์แวร์ จึงได้พัฒนาการไปกองอยู่บน Cloud หมดแล้ว
ไอ้แบบนี้แหละ คือ Saas หรือ Software as a Service ที่มีบริการให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ในระบบ Cloud กันเลย อยากจะใช้ก็ใช้เท่าที่อยากใช้ ใช้และจ่ายตามที่ต้องการใช้ เลยเรียกว่า as a Service คือ ตามใจคุณที่อยากจะใช้นะแหละ ไม่ต้องซื้อซอฟต์แบบเหมาเข่งอีกต่อไป เขาจะแยกเป็นโมดูล เป็นส่วน ๆ ที่มันต่อถึงกันได้ราวๆ กับมีชีวิต แบบว่า เอ้อ ซอฟต์แวร์มันต้องฉลาด แต่คนเขียนมันขึ้นมาต้องฉลาดกว่าอยู่ดี ด้วยวิธีการแบบนี้ เจ้าของโปรแกรม หรือคนผลิตโปรแกรม หากจะแก้ไขปรับปรุงก็แก้ไขอยู่ทีเดียวนั่นแหละ เรียกว่าสบาย ไม่ต้องออกท้องที่ วิ่งทั่วไทยเหมือนคนขายซอฟต์แวร์ยุคก่อน ขายได้แต่กำไรไม่เหลือ หายไปกับค่ารถค่าน้ำมัน
ผู้ใช้งานไม่ต้องเป็นภาระ ทั้งด้านการลงทุน ด้านการจ้างพนักงานดูแล ไปจนการออกรายงานต่าง ๆ
จากที่เดิมต้องเป็นแบบว่าคนต้องมาคอยออกแรงคิด ออกแรงทำบ้าง แต่ต่อไปนี้งานประเภทที่ทำประจำหรืองาน Routine นั้นกำลังจะถูกโปรแกรมให้มั้นทำเองเสร็จเอง โดยการเรียนรู้ของเครื่องนี่แหละ
แหละมันคือ RPA หรือ Robotics Process Automation นี่เองเป็นกระบวนการอัตโนมัติแบบหุ่นยนต์ ที่เรามองไม่เห็นตัวตนของหุ่นยนต์ แต่เป็นผลลัพธ์มาจากเทคโนโลยีการเขียนซอฟต์แวร์ ตรงนี้แหละครับ คือ กำเนิดของ Virtual Office ที่อะไร ๆ ก็ Virtual ตัวผู้คนเอง ก็จะมีผู้ช่วย Personnel Assistant ที่มันคือ แอพฯ บนมือถือ เหมือนสิริ ใน iphone Virtul พวกนี้จะถูกเขียนมาให้เรียนรู้ จดจำ แล้ววันหนึ่งมันก็กลับมาสอนเรา เตือนเรา ในเรื่องต่าง ๆ นานา ที่วัน ๆ หนึ่งเราจะไม่สามารถจนจำเรื่องราวได้ทั้งหมด
เขียนอ้อมไป อ้อมมานานมาก ขอกลับมา มาตกผลึกเรื่อง ที่ว่า แล้ว ERP มันมีฟังก์ชั่นอะไรกันบ้าง มีใครผลิตกันบ้าง มีแนวโน้มจะไปกันทางไหน
ผมขอยกตัวอย่างพอได้เห็นภาพ โดยอ้างอิงมาจากเวบไซต์ http://www.vridhisoftech.com/remco-erp/ และ https://gbenterprisesystems2014.wordpress.com/2014/11/16/5-erp-vendors-their-products-features-and-market-share/
ที่อาจจะเก่าหน่อย คือ ปี 2014 แต่ก็ ไม่แตกต่างกันมากนัก จะต่างก็เรื่องของที่อยู่ คุณภาพ และต้นทุนการหามาใช้งาน
จะเห็นว่า มีผู้ผลิต ERP ออกกันมาหลายเจ้า รายใหญ่ๆ ทั้งนั้น ไม่ต้องหาว่ามีชื่อไทย ๆ บ้างหรือไม่ แต่ก็เป็นเรื่องน่ายินดีที่ รัฐบาลให้ความสำคัญในการร่วมกันผลิต ERP ให้กับ SME ของไทยได้ใช้งานกัน โดยเริ่มทดลองกันมาตั้งแต่ปี 2015 ที่มีผู้ใช้งานไม่มากนัก เพียง 150 ราย (ตอนนี้ 2018 ………. )
ERP แบบ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีความสามารถอะไรบ้างลองดาวน์โหลดเอกสารมาอ่านกันดู ตามลิงก์นี่ครับ
มาดูในแง่ Feature ว่า ในแต่ละ Module มันทำอะไรได้บ้าง นี่เป็นตัวอย่างของเจ้า Remco-ERP
ครานี้ มาถึงตอนที่ว่า หาก คุณจะยังต้องการมีที่ยืนอยู่ในสนาม ธุรกิจ และธุรกิจของคุณมันต้องวุ่นวายกับข้อมูล กับตัวเลข และซ้ำจต้องให้การบริการลูกค้า ที่นับวันจะมีตัวเลือกทางเลือกมากมาย มีตำถามว่า คุณจะแข่งขันได้อีกต่อไปมั๊ย
มีสองทางเลือก คือ ยอมแพ้ กับ เดินหน้าหามันมาใช้ให้ได้
หากจะต้องหามาใช้ ก็ต้องเริ่มดูรอบด้าน ทั้งเรื่องฟังก์ชั่น และหน้าที่ของมัน
ก็กลายเป็นเรื่องทั้งจำเป็นและยากไม่น้อย ที่ องค์กร บริษัทเล็ก ๆ จะเอื้อมถึง
จึงเป็นเวลาของ เรื่อง ของดี ราคาเหมาะสม จะออกโรง
ใครละ ผู้ให้บริการรายไหนละ และจะมีคนไทยซักคนมั๊ย จะมีปัญญาสร้างมันขึ้นมา
มันจึงเป็นเรื่องราว มหากาพย์ที่ใหญ่มาก
เทคโนโนโลยีอะไร ที่จะไปถึง AI, RPA เหล่านั้นได้ซื้อเขาเหอะ เป็นคำยอดฮิต แต่หากเราผลิตมันได้ละ เรารู้ว่าจะต้องทำอย่างไร เรารู้ว่าจะเจออะไร เรารู้วางจะต้องระดมสรรพกำลังขนาดไหน การเดินทางไกลจึงเริ่มแล้ว ที่จะต้องเดินอย่างอดทน พร้อมเพื่อนร่วมทาง และปลอดหนี้
ก่อนจบ มีสไลด์ย่อ ๆ ว่าด้วยปัญหาใน SME ที่เป็นที่มาของการผลิต ERP ฉบับ DIP ขึ้นมา
ติดตามบทความดี ๆ กันต่อไปครับ
5273total visits,3visits today