อธิบายการทำงานของ Samong กับ JavaVM

Digital Multiverse Ecosystem

อธิบายการทำงานของ Samong กับ JavaVM

เขียนคำสั่งครั้งเดียว นำไปใช้งานได้ทุกที่ (Write Once Run Anywhere)
    จากความต้องการลดปัญหาการพัฒนาระบบที่ต้องนำไปใช้งานบนแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน จำนวนทีมงานที่ต้องมาร่วมกันทำงานจำนวนมาก จำนวนคำสั่งที่จะต้องเขียนซ้ำซ้อนกันโดยมีความแตกต่างกันในเรื่องภาษาที่ต้องแยกไปตามแพลตฟอร์ม นี่คือความต้องการส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด JavaVM  และภาษา Java ที่ถูกพัฒนาขึ้นมากเพื่อแก้ไขปัญหาและได้รับความนิยมมากในปัจจุบันอีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้งานได้ฟรี เพราะเป็นแบบ Open Sources
    ตัวของ JavaVM เปรียบเสมือนเป็นมิดเดิลแวร์ หรือตัวห่อหุ้มความหลากหลายไว้ภายใน ทำให้นักพัฒนาไม่ต้องกังวลใจในเรื่องความแตกต่างของแพลตฟอร์มต่างๆ กลายเป็นมาตรฐานการพัฒนาระบบที่ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยการนำชุดคำสั่งของแอพพลิเคชั่นมาทำงานบน JavaVM ไม่ใช่ NativeCode หรือคำสั่งของซีพียู หรือคำสั่งของอุปกรณ์โดยตรง
 
ความต้องการ Native Code เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของ IoT (Internet of Thing)
จำนวนของอุปกรณ์ IoT ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย มีฟังก์ชั่นและการทำงานที่แตกต่างกัน การเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ IoT จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ 5G ที่รองรับการรับส่งข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว หรือใช้เวลาน้อยลง
ความแตกต่างของอุปกรณ์ IoT จำเป็นจะต้องมีระบบควบคุมอีกชั้นหนึ่งเพื่อใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ เปรียบเหมือนเป็นเครือข่ายระบบประสาทหรือระบบสมองของมนุษย์ รวมถึงระบบการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากที่มีความแตกต่างกันและมีการจำนวนข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เกิดฐานข้อมูลที่มีลักษณะกระจายตัวมากขึ้น
ด้วยความเร็วของการสื่อสารทำให้ระบบต่างๆ ที่ถูกนำมาทำงานร่วมกันมีลักษณะเป็นแบบเวลาปัจจุบัน หรือ สามารถตอบสนองเหตุการณ์ได้รวดเร็วทันทีทันใจ (RealTime) มากเพิ่มขึ้น
    จากส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมโดยรวมที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ความต้องการแอพพลิเคชั่นที่มีคุณสมบัติเป็นชุดคำสั่งของซีพียูหรือชุดคำสั่งของอุปกรณ์โดยตรง (Native Code) มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เพื่อตอบสนองเหตุการณ์ใช้งานได้รวดเร็วทันใจ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการทำให้ลักษณะการทำงานแบบ JavaVM ไปอยู่ในรูปของ Native Code ซึ่งเป็นแนวคิดเบื้องต้นของการพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยีที่เรียกว่า สมองแพลตฟอร์ม (Samong Platform) โดยมีกรอบแนวคิดว่า Samong is digital brain.
การคิด (Thinking) และความจำ (Memory) คือ องค์ประกอบสำคัญของสมอง
    เทคโนโลยี iSTEE & Samong  เราไม่ได้พูดถึงแค่ในเรื่องของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ เพราะเกือบทุกภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมปัจจุบันนี้ ก็มีคุณสมบัติของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วยกันทั้งนั้น แต่เรากำลังทำความเข้าใจในอีกระดับหนึ่งของการนำเอาเทคโนโลยีการพัฒนาโปรแกรมเชิงวัตถุมาสร้างเป็นแบบจำลองของเครือข่ายระบบอัจฉริยะ (Intelligent System Network)
    เราไม่ได้ใช้ต้นแบบการจำลองอะไรที่ซับซ้อนเพียงแค่นำเอาระบบสมองของมนุษย์มาเป็นต้นแบบที่ใช้ในการศึกษา ก็พบว่าองค์ประกอบสำคัญก็มี 2 ส่วนสำคัญคือ ความสามารถในการประมวลผลของสมอง และ สามารถในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก เรียกโดยย่อๆ ว่า การคิด (Thinking) และ ความจำ (Memory)
    iSTEE & Samong เลือกใช้เดลไฟ (Delphi) ในการพัฒนาเพื่อต้องการนำเอาคุณสมบัติ Native Code มาใช้งานทำให้ การคิด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทำงานรวดเร็ว อีกทั้งเดลไฟ มีคุณสมบัติและเครื่องมือที่ง่ายในการใช้งานระบบฐานข้อมูลที่สะดวกรวดเร็วและหลากหลาย ทำให้แอพพลิเคชั่น มีความสามารถในเรื่องความจำได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานได้สะดวกรวดเร็ว
ลำพังแค่คุณสมบัติการคิดและความจำนั้น ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองการพัฒนาระบบที่มีองค์ประกอบซับซ้อนขนาดใหญ่ซึ่งมีระบบและปริมาณข้อมูลจำนวนมาก หลากหลายชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจำเป็นต้องเจาะลึกลงไปในรายละเอียดระดับเซลล์หรือระดับดีเอ็นเอหรือระดับสายพันธุกรรมของร่างกาย ในแง่ของเทคโนโลยีนั้นเรากำลังพูดถึงเรื่องของการออกแบบคลาสของวัตถุหรือคลาสของชิ้นส่วน หรือสายพันธุกรรม โดยเรียกชื่อแนวคิดนวัตกรรมนี้ว่า iSTEE Technology ที่นำมาใช้เป็นแกนพัฒนา Samong Platform
Native Code คือคำสั่งของซีพียูหรืออุปกรณ์ โดยตรงไม่ต้องใช้ตัวแปลงคำสั่ง มันก็เป็นเหมือนธรรมชาติความคิดและความจำ มีประจำตัวในทุกเซลล์ร่างกายของคนเรา นี่คือเหตุผลการเลือกเส้นทางของ Native Code
ในทุกเซลล์ที่มีการคิดและความจำรวมอยู่ด้วยกัน ก็คือคุณสมบัติพื้นฐานของแนวคิด MicroServices
ทำให้ Samong มีคุณลักษณะ MicroService Inside MicroService ไปโดยธรรมชาติ

6793total visits,3visits today

 

ใส่ความเห็น